0

การขึ้นพรหมยืน

การรำพรมยืน

การขึ้นพรหมยืน
  ในท่าถวายบังคม วางกระบี่ให้ชี้ปลายไปข้างหน้า ห่างจากเข่า 1 คืบ
     

          1                                 2                  3
  • จากท่านั่ง เมื่อถวายบังคมเสร็จแล้ว ก้มตัวลงข้างหน้า ไหว้กระบี่
  • มือขวาจับกระบี่ทัดหูให้โกร่งกระบี่อยู่ข้างบนปลายกระบี่ชี้ไปข้างหน้ามือซ้ายจีบอกพร้อมทั้งตั้งเข่าซ้าย
  • จ้วงกระบี่ลงทางซ้ายพร้อมกับลุกขึ้นยืนด้วยเท้าซ้าย หันตัวไปทางขวา
    หนึ่งมุมฉาก ยกเข่าขวาขึ้นรับศอกขวา กระบี่เฉียงออก 45 องศา
 
 
  • มือซ้ายรำข้างแล้วจีบไว้ที่อก วางเท้าขวาลง
  • ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 1 ก้าว กระบี่ทัดหู โล้ตัวไปข้างหน้า
  • ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
  • วางเท้าซ้ายลง จ้วงกระบี่ลงทางซ้าย ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า 1 ก้าว
    พลิกระบี่ไปอยู่ข้างหน้า โกร่งกระบี่หันเข้าหาตัว กระบี่เฉียง 45 องศา

          4              5                      6                      7
 
     
          8                9                     10               11
  • ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
  • มือซ้ายรำข้าง แล้วจีบไว้ที่อก
  • วางเท้าขวาลงหมุนตัวกลับหลังหันทางซ้าย กระบี่ทัดหู
  • ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย
  • ยกเท้าซ้ายขึ้น
 
 
  • จ้วงกระบี่ลงทางซ้าย วางเท้าซ้ายลง แล้วก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าอีก
    1 ก้าวพร้อมกับพลิกกระบี่ไปข้างหน้าเฉียง 45 องศา โกร่งกระบี่หัน
    เข้าหาตัว เข่าขวางอ เข่าซ้ายตึง
  • ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
  • มือซ้ายรำข้าง
  • วางเท้าขวาข้างเท้าซ้าย หมุนตัวไปทางซ้าย ยกกระบี่ขึ้นทัดหู โกร่ง
    กระบี่หันขึ้นข้างบน มือซ้ายจีบที่อก โล้ตัวไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอเข่า
    ขวาตึง


     12            13          14                     15
 
     
16                    17             18         19             20
  • ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
  • จ้วงกระบี่ลงข้างซ้าย วางเท้าซ้ายลง ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า 1 ก้าว พลิกกระบี่ให้เฉียงขึ้นไปข้างหน้า 45 องศา หันโกร่งกระบี่เข้าหาตัว เข่าขวางอ เข่าซ้ายตึง
  • ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
  • มือซ้ายรำข้าง แล้วจีบไว้ที่อก
  • วางเท้าขวาลงข้างหน้า แล้วหมุนตัวกลับหลังหันทางซ้ายยกกระบี่ขึ้น
    ทัดหู โกร่งกระบี่อยู่ข้างบน โล้ตัวไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอ เข่าขวาตึง
 
 
  • ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
  • จ้วงกระบี่ลงข้างซ้าย วางเท้าซ้ายลง ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า 1 ก้าว
    พลิกกระบี่ให้เฉียงขึ้นไปข้างหน้า 45 องศา หันโกร่งกระบี่เข้าหาตัว
    เข่าขวางอ เข่าซ้ายตึง
  • ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
  • มือซ้ายรำข้าง แล้วจีบไว้ที่อกวางเท้าขวาลงข้างหน้า แล้วหมุนตัว
    กลับหลังหันทางซ้ายยกกระบี่ขึ้นทัดหู โกร่งกระบี่อยู่ข้างบนโล้ตัว
    ไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอ เข่าขวาตึง



       21             22                23                         24
 
     
         25                                              26
  • มือซ้ายรำข้าง แล้วจีบไว้ที่หน้าอก
  • ควงกระบี่สองรอบ
  • วางเท้าขวาเฉียงไปทางขวา กระบี่อยู่ข้างขวา แขนขวาชิดลำตัว ศอกเป็นมุมฉาก กระบี่ขนานพื้น โล้ตัวไปข้างหน้าอยู่ในท่าคุมรำ
0

การขึ้นพรหมนั่ง

ในการแข่งขันกระบี่กระบองประเภทอาวุธกระบี่นั้น จะเหมือนกับดาบสองมือคือ เริ่มจากการถวายบังคมแล้วต่อด้วยการขึ้นพรม ซึ่งการถวายบังคมให้ดูได้ในตอนที่4 

ตอนนี้เรามาดูการขึ้นพรมนั่ง-ยืนของกระบี่กันเลยดีกว่า

การขึ้นพรหม  
  การขึ้นพรหม เป็นขนบธรรมเนียมอีอย่างหนึ่งของกระบี่กระบอง เพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจคือ พรหมวิหารสี่ อันเป็นคุณธรรมอันประเสริฐ เป็นธรรมะที่ขจัดความพาล
ไม่นำเอาวิชากระบี่กระบองไปใช้ในทางที่ผิด เป็นผู้ที่เปี่ยมด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ด้วยเหตุที่พรหมมี 4 หน้า หน้าหนึ่ง ๆ หมายถึงคุณธรรมอย่างหนึ่ง ดังนั้น
การขึ้นพรหมต้องรำให้ครบ 4 ทิศ และในการขึ้นพรหมของกระบี่กระบองนั้นมี 2 อย่างคือ
      1. การขึ้นพรหมนั่ง
2. การขึ้นพรหมยืน

 

การขึ้นพรหมนั่ง
 


        1                         2                        3
จากท่านั่งเมื่อถวายบังคมเสร็จแล้วหันหน้าไปทางซ้ายก้มตัวลงไหว้กระบี่เอามือขวาจับกระบี่ มือซ้ายจีบไว้ที่หน้าอก
 
  ยกกระบี่ขนานพื้น ข้ามศีรษะทางขวากระบี่อยู่ทางขวา ขนานพื้น โกร่งกระบี่หันออกนอกลำตัว หงายมือ ข้อศอกงอเป็นมุมฉากชิดลำตัว ตั้งเท้าขวาไว้ข้างหน้า นั่งบนส้นเท้าซ้ายชักเท้าขวามานั่งคุกเข่า ตั้งเท้าซ้ายไว้ข้างหน้า นั่งบนส้นเท้าขวา


        4                                5                         6
 
 


           7                                8                           9
โล้ตัวไปข้างหน้าโดยวางเข่าซ้ายลง ยกเท้าขวาขึ้น แล้วมือซ้ายรำหน้า ระดับหน้าผากหมุนตัวกลับหลังหันทางขวา โดยยกเข่าทั้งสองขึ้น พร้อมกับวาดกระบี่ไปทางซ้าย กระบี่ขนานพื้น วางเข่าซ้ายลง นั่งบนส้นเท้าซ้าย ตั้งเข่าขวาขึ้น กระบี่แนบลำตัวทางซ้ายมือซ้ายจีบอยู่ที่หน้าอก
 
  มือซ้ายรำข้างระดับใบหู โดยให้แขนงอโค้งเล็กน้อย วาดกระบี่ขนานพื้นไปทางขวา มือซ้ายจีบที่หน้าอกในขณะที่วาดกระบี่มาทางขวาสุดแล้วให้ดึงเข่าขวาวางบนพื้นและตั้งเข่าซ้ายขึ้น


          10                      11            12
 
 


           13                                14                         15
โล้ตัวไปข้างหน้าวางเข่าซ้ายลง ยกเท้าขวาขึ้น มือซ้ายรำหน้า

หมุนตัวไปทางขวา ดึงมือซ้ายมาจีบไว้ที่อก วาดกระบี่ไปอยู่ทางซ้าย
ชิดลำตัวตั้งเข่าขวาบิดเข่าซ้ายไปทางขวาวางเข่าซ้ายลงนั่งบนส้น
เท้าซ้าย
มือซ้ายรำข้าง

 
  ดึงมือซ้ายมาจีบไว้ที่อก วาดกระบี่ไปทางขวากระบี่ขนานพื้น ดึงเข่า ขวาวางไว้ที่พื้น ตั้งเข่าซ้ายขึ้นโล้ตัวไปข้างหน้า วางเข่าซ้ายลงบนพื้น ยกเท้าขวาขึ้น แล้วรำหน้า  หมุนตัวกลับหลังหันทางขวา มือซ้ายจีบไว้ที่อก วาดกระบี่ไปทางซ้าย
กระบี่ชิดลำตัว ลุกขึ้นยืนด้วยเท้าซ้าย ยกเข่าขวาขึ้นให้ขาขวารองรับ ศอกขวา


                          16                   17               18
 
 

         19                          20                   21                            
มือซ้ายรำข้าง วาดกระบี่ไปข้างหน้าสองรอบ มือซ้ายจีบเข้าอก

วางเท้าขวาเฉียงไปทางขวา โล้ตัวไปข้างหน้า เข่าขวางอ เข่าซ้ายตึง
กระบี่

0

ถวายบังคม

การถวายบังคม

        มีขั้นตอนการปฏิบัติดังต่อไปนี้

        1.  ท่าเตรียม            

 
ท่าเตรียม

1)  ผู้แสดงนั่งคุกเข่า  โดยนั่งอยู่บนส้นเท้าทั้งสองเข่าห่างกันพอประมาณ

2)  วางอาวุธไว้ตามลักษณะของอาวุธแบบลักษณะของการขึ้นพรหม

3)  พรหมนั่งวางกระบี่ไว้ทางด้านซ้ายมือ ด้ามกระบี่เสมอเข่าปลายกระบี่ชี้ไปด้านหลัง  หันโกร่งกระบี่ออกนอก

4)  พรหมยืนวางกระบี่ไว้ด้านหน้าปลายชี้ไปทางตรงคู่ต่อสู้โกร่งกระบี่อยู่ด้านล่างห่างเข่าประมาณ1คืบ

                2.  ท่าเริ่มต้น

                1)  ประนมมือที่หน้าอกก้มศีรษะพร้อมโน้มตัวไปข้างหน้า  ลดมือลง

                2)  จีบมือทั้งสอง  แยกหงายฝ่ามือวาดมือออกข้างลำตัว  ดึงนิ้วมือทั้งสองให้ชิดหากัน ดึงมือเข้าประนมที่หน้าอก

                3)  เหยียดแขนคู่ไปข้างหน้าขึ้นบน  เงยหน้าพร้อมนิ้วมือทั้งสองจรดหน้าผาก

                4)  ลดมือทั้งสองให้เหยียดและกลับมาประนมใหม่นับ 1

                5)  เหยียดแขนคู่ไปข้างหน้า  ขึ้นบนพร้อมเงยหน้าปลายนิ้วมือทั้งสองจรดหน้าผาก

                6)  ลดมือทั้งสองให้เหยียด และกลับมาประนมใหม่ นับ 2

                7)  เหยียดแขนคู่ไปข้างหน้าขึ้นบนพร้อมเงยหน้า  ปลายนิ้วมือ ทั้งสองมาจรดหน้าผาก

                8)  ลดมือทั้งสองให้เหยียดและกลับมาประณมใหม่  นับ 3

เมื่อทำครบ 3 ครั้ง ถือเป็นการเสร็จสิ้นการถวายบังคมกระบี่

0

ไม้รำปกหน้าปกหลัง

ไม้รำที่ 6 ปกหน้าปกหลัง หรือควงป้องหน้า ( เดินตรง )
  ท่าคุมรำ

ควงกระบี่สองรอบพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายเดินตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว
พลิกข้อมือขวาให้ปลายกระบี่ชี้เฉียงลงไปข้างหน้าประมาณ 45 องศา
โกร่งกระบี่หันออก แขนขวาชิดหู โล้ตัวไปข้างหน้า


1                         2
 
     
               3                                         4
มือซ้ายรำออกไปข้างหน้า แขนงอเล็กน้อย หน้าก้มให้มือซ้ายรำอยู่ ใต้โกร่งกระบี่

ลาดเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น

 
  วางเท้าซ้ายลง มือซ้ายจีบไว้ที่อก หมุนตัวกลับหลังหันทางขวา พร้อม
กับควงกระบี่สองรอบ

พลิกข้อมือขวาให้ปลายกระบี่ชี้เฉียงลงไปข้างหน้าประมาณ 45 องศา
โกร่งกระบี่หันออก แขนขวาชิดหู โล้ตัวไปข้างหน้า


5                                    6
 
     

                  7                                    8
มือซ้ายรำออกไปข้างหน้า ให้มือซ้ายรำอยู่ใต้โกร่งกระบี่ แขนงอเล็กน้อยหน้าก้ม

ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น

 
 
หมุนตัวกลับหลังหันทางขวา ยกกระบี่ไปข้างหน้าทางขวามือซ้าย
จีบไว้ที่หน้าอก

วางเท้าขวาลง   กลับเข้าสู่ท่าคุมรำ

        9                     10                                                          11

0

ไม้รำจ้วงหน้าจ้วงหลัง

ไม้รำที่ 5 จ้วงหน้าจ้วงหลัง ( เดินตรง )
  ท่าคุมรำ   ควงกระบี่ไปข้างหน้าสองรอบพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายเดินตรงไปข้าง
หน้า ยกกระบี่ขึ้นทัดหู โกร่งกระบี่อยู่ข้างบน โล้ตัวไปข้างหน้า

1                            2
 
     
         3                                4
ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น   จ้วงกระบี่ลงทางซ้าย วางเท้าซ้ายลง
 
  ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าอีก 1 ก้าว พลิกข้อมือให้กระบี่เฉียงอยู่ข้างหน้า 45 องศา หันโกร่งกระบี่เข้าหาตัวไปข้างหน้าลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น มือซ้ายรำข้าง แล้วจีบไว้ที่อก

         5                                 6                               7                                    
 
     

                     8                                9

วางเท้าขวาลงข้างหน้า หมุนตัวกลับหลังหันทางซ้าย ยกกระบี่ขึ้นทัดหู
โล้ตัวไปข้างหน้า ล
ากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
 
  จ้วงกระบี่ลงทางซ้าย ถอยเท้าซ้ายวางไว้หลังเท้าขวาพลิกข้อมือให้กระบี่อยู่ข้างหน้าเฉียง45 องศา หันโกร่งกระบี่เข้าหา ลำตัว โล้หน้า ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น

                10                      11                    12
 
     
            13                            14                           15
มือซ้ายรำข้าง แล้วกลับมาจีบไว้ที่หน้าอก วางเท้าขวาลงข้างหน้า

หมุนตัวกลับหลังหันทางซ้าย ยกกระบี่ขึ้นทัดหูโล้ตัวไปข้างหน้า

 
  ก้าวเท้าขวาเฉียงไปข้างหน้า 1 ก้าว กลับมาสู่ท่า คุมรำ

                        16
0

ไม้รำตั้งศอก

ไม้รำที่ 4 ตั้งศอก ( เดินสลับฟันปลา )
  ท่าคุมรำ ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปทางขวา 45 องศา พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นทัดหู  โกร่งกระบี่อยู่ข้างบน โล้ตัวไปข้างหน้า

 1                            2
 
     
          3                                   4
ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้นยกมือซ้ายมาตั้งศอกที่เข่าซ้าย ปลายนิ้วแตะกระบี่หันฝ่ามือไปทางขวา
 
  หมุนตัวไปทางซ้าย วางเท้าซ้ายลง มือซ้ายจีบที่หน้าอก และลดกระบี่
มาอยู่ข้างหน้าเฉียงขึ้น 45 องศา พลิกข้อมือ หันโกร่งกระบี่เข้าหาตัว
ก้าวเท้าขวาไปข้าหน้าเฉียงไปทางซ้ายอีก 1 ก้าวโล้ตัวไปข้างหน้า
ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าซ้ายขึ้น

      5                                        6
 
     
           7                                                  8
มือซ้ายรำข้าง แล้วจีบไว้ที่หน้าอกหมุนตัวไปทางขวา 1 มุมฉาก วางเท้าขวาลง วาดกระบี่ไปทางขวา กลับไปอยู่ในท่าคุมรำ
0

ไม้รำเหน็บข้าง

ไม้รำที่ 3 เหน็บข้าง ( เดินตรง )
       
  ท่าคุมรำ  ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว โล้ตัวไปข้างหน้า
1
 
 
23
ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้นมือซ้ายรำหน้า
 
  วางเท้าซ้ายลง มือซ้ายมาจีบไว้ที่อก หมุนตัวกลับหลังทางขวาหมุนข้อมือ บิดไปทางขวา ให้โกร่งกระบี่อยู่นอกกระบี่เฉียงลง 45 องศา แขนขวาชิดข้างหู งอแขนเล็กน้อย หน้าก้ม โล้ตัวไปข้างหน้าลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
45-6
 
      78 หมุนตัวกลับหลังหันทางขวา ขณะที่ยกเท้าขวาอยู่โดยใช้เท้าซ้ายเป็น
หลัก วางเท้าขวาลง
ลดกระบี่ลงอยู่ข้างเอวทางซ้าย ฝ่ามือซ้ายทาบกระบี่ โกร่งกระบี่หัน ลงสู่พื้น ปลายกระบี่ชี้ลง โล้ตัวไปข้างหน้า
 
  ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้นวางเท้าขวาลง วาดกระบี่ขนานพื้นไปทางขวา มือซ้ายจีบไว้ที่อก
อยู่ในท่าคุมรำ
910

//

0

ไม้รำควงทัดหู

ไม้รำที่ 2 ควงทัดหู ( เดินสลับฟันปลา )
  จากท่าคุมรำก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปข้างขวา 1 ก้าว ควงกระบี่ไปข้างหน้าสองรอบ พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นทัดหู
 
      ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้นหมุนตัวไปทางซ้าย 1 มุมฉากพร้อมกับจ้วงกระบี่ลงทางซ้าย วางเท้าซ้ายลงแล้วก้าวเท้าขวาไปอีก 1 ก้าว พลิกกระบี่ไปอยู่ข้างหน้าลำตัว กระบี่ เฉียงออก 45 องศา โกร่งกระบี่หันเข้าหาลำตัว
 
  ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวาแล้วยกเท้าขวาขึ้นมือซ้ายรำข้างหมุนตัวกลับไปทางขวา 1 มุมฉาก มือซ้ายจีบไว้ที่อก วางเท้าขวาลง กลับมาอยู่ในท่าคุมรำ

// //

0

ไม้รำลอยชาย

ไม้รำที่ 1  ลอยชาย

ไม้รำที่ 1 ลอยชาย (เดินสลับฟันปลา)
• มือซ้ายจีบที่หน้าอก ก้าวเท้าขวาเฉียงไปทางขวา โล้ตัวไปข้างหน้าเข่าขวางอ เข่าซ้ายตึง กระบี่อยู่ทางขวา ขนานพื้น หงายมือ โกร่งกระบี่อยู่ด้านนอกแขนท่อนบนอยู่ชิดลำตัว ข้อศอกงอเป็นมุมฉาก
• ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปทางขวา โล้ตัวไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอ เข่าขวาตึง

• ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น เข่าซ้ายงอเป็นมุมฉาก ขาท่อนบนขนานพื้น เข่าขวาตึง
• มือซ้ายรำหน้า แล้วจีบไว้ที่หน้าอก

• หมุนตัวต่อไปทางซ้าย 1 มุมฉาก วางเท้าซ้ายลงวาดกระบี่ขนานพื้นไปทางซ้ายไว้ข้างเอว โกร่งกระบี่อยู่ด้านนอก ก้าวเท้าขวาไปอีก 1 ก้าว โล้ตัวไปข้างหน้า
• ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
• มือซ้ายรำข้าง แล้วกลับมาจีบไว้ที่หน้าอก
• หมุนตัวไปทางขวา 1 มุมฉากวาดกระบี่ขนานพื้นไปทางขวา วางเท้า ขวาลง พลิกข้อมือหงาย อยู่ในท่าคุมรำ
0

ประวัติกีฬากระบี่กระบอง

ประวัติกีฬากระบี่กระบอง

 

ประวัติกระบี่กระบอง
         การเล่นกระบี่กระบองเป็นพื้นฐานเบื้องต้นส่วนหนึ่งของศิลปะการต่อสู้ของไทย ที่เรียกว่า กระบี่กระบอง เพราะเป็นกีฬาที่บรรพบุรุษไทยนำเอาศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยอาวุธที่ใช้สู้รบกันในสมัยโบราณ มาฝึกซ้อมและเล่นในยามสงบ โดยนำหวายมาทำเป็นกระบี่ ดาบ ง้าว ฯลฯ เอาหนังมาทำโล่ เขน ดั้ง ฯลฯ แล้วจัดมาตีต่อสู้กันเล่นหรือแข่งขันกันเป็นคู่ ๆ ดุจสู้กันในสนามรบเป็นการฝึกหัดรุกและรับไปในตัว
           อย่างไรก็ตาม ประวัติเริ่มต้นของการเล่นกระบี่กระบองที่แท้จริงนั้นไม่ทราบได้แน่ชัดว่า เริ่มกันมาตั้งแต่ครั้งไหน และใครเป็นผู้คิดค้นขึ้น เพราะไม่สามารถค้นคว้าจากแหล่งใดได้ แต่เนื่องด้วยไทยเราเป็นชาตินักรบมาแต่โบราณ กระบี่กระบองซึ่งเป็นกีฬาของนักรบจึงน่าจะได้มีการเล่นกันมาเป็นเวลาช้านานควบคู่กับชนชาติไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์มีหลักฐานที่พออ้างอิงได้คือ วรรณคดี ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 2 ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา กล่าวถึงอิเหนาชำนาญในการกระบี่ ในรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่แต่งเรื่องพระอภัยมณี กล่าวถึงศรีสุวรรณเล่าเรื่องกระบี่กระบองกับอาจารย์ทิศาปาโมกข์
         ต่อมาในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดปรานกระบี่กระบองเป็นพิเศษ ถึงกับโปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ทรงหัดกระบี่กระบองจนครบวง และและโปรดให้เล่นกระบี่กระบองเป็นการสมโภชที่หน้าพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เนื่องในการทรงผนวชเป็นสามเณรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2409
         ต่อมา รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้มีการเล่นกระบี่กระบอง และชกมวยไทยหน้าพระที่นั่งในงานสมโภชอยู่เนือง ๆ  พระองค์เสด็จทอดพระเนตรและพระราชทานรางวัลแก่ผู้แสดงและแข่งขันบ่อย ๆ ฉะนั้นกระบี่กระบองจึงเป็นที่รู้จักมักคุ้นกันมากในสมัยนั้น และในแต่ละปีอาจจะดูได้หลายครั้ง อย่างไรก็ตาม ในช่วงนั้นกีฬากระบี่กระบองเป็นที่นิยมมาก จึงทำให้กระบี่กระบองมีอยู่ดาษดื่น และมีมากคณะด้วยกัน 
         ครั้นถึงในสมัยรัชกาลที่ 6 ความครึกครื้นในการเล่นกระบี่กระบองลดน้อยลง เพราะไม่ทรงโปรดเท่ารัชกาลที่ 5 และต่อมา ในรัชกาลที่ 7 กีฬากระบี่กระบองค่อย ๆ หมดไปจนเกือบหาดูไม่ได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ทันกับความเจริญก้าวหน้าของโลกอุตสาหกรรม ทำให้ประชาชนทั่วไปมุ่งในเรื่องเศรษฐกิจ สังคมมากขึ้น
         ทั้งนี้ ท่านอาจารย์ นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้หนึ่งที่ได้เล่าเรียนวิชานี้มาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และเป็นผู้ที่รักใคร่ในศิลปะวิชานี้อยู่เสมอ จึงพยายามสงวนและเผยแพร่วิชากระบี่กระบองของไทยมากขึ้น ต่อมาเมื่อท่านโอกาสที่ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนพลศึกษากลาง ท่านได้เริ่มลองสอนนักเรียนพลศึกษากลางเกี่ยวกับการเล่นกระบี่กระบองขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2478 หลังจากทดลองสอนอยู่ 1 ปี พบว่าได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจของท่านผู้ใหญ่ จึงได้กำหนดวิชากระบี่กระบองไว้ในหลักสูตรของประโยคครูผู้สอนพลศึกษา เมื่อ ปี พ.ศ.2479 นับแต่นั้นมาได้มีผู้เล่าเรียนและสำเร็จการศึกษามากขึ้นเป็นลำดับ
ประโยชน์ของวิชากระบี่กระบอง
1. สามารถใช้ต่อสู้และป้องกันตัวในยามคับขันได้

2. ช่วยสร้างเสริมสมรรถภาพทางร่างกาย

3. ช่วยเสริมสร้างคุณลักษณะทางด้านจิตใจ เช่น ความกล้าหาญ ความอดทน ความไม่ขลาดกลัวต่ออันตราย และรู้จักช่วยเหลือตนเอง

4. เป็นการเสริมสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในศิลปการต่อสู้ป้องกันตัวประจำชาติ

5. เป็นการรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย 6. เป็นการฝึกนิสัยและฝึกจิตใจให้เป็นคนดีมีศีลธรรม

           กระบอง หมายถึง พวกยักษ์ที่พกกระบองเป็นอาวุธ ยักษ์มีรูปร่างใหญ่โต เคลื่อนไหวช้า เพราะฉะนั้นการจัดระเบียบเรียกแยกประเภท อาวุธที่ใช้แสดงต่อสู้ป้องกันตัวน่าจะมาจากการแยกฝ่ายยักษ์และลิง โดย ถือว่าลิงรูปร่างเล็กและผู้พากย์โขนมักเรียกขนานนามว่า ขุนกระบี่ ซึ่งหมายถึง หนุมานหัวหน้าลิง ซึ่งมีตรีหรือสามง่ามสั้นพกเป็นอาวุธประจำกาย และพลลิงตัวอื่น ๆ พกอาวุธสั้น เช่น พระขรรค์ เป็นต้น

ฉะนั้นคำว่า “กระบี่” จึงถูกนำมาเป็นคำเรียกแยกให้รู้ว่าอาวุธสั้นทั้ง หลายจะรวมเรียกว่า กระบี่ ซึ่งมี ดาบ โล่ ดั้ง เขน ไม้ศอกสั้น มีดสั้น พระขรรค์ เคียว ขวาน ตรี สามง่ามสั้น และ สีโหล่ 
         “กระบอง” มาจาก ยักษ์ ที่ถือกระบองเป็นอาวุธยักษ์รูปร่างใหญ่โตและ การเคลื่อนไหวไม่ไวเท่าลิง อาวุธนี้จึงถูกจัดเรียกว่า กระบอง ไม่ว่าสั้นหรือยาวเป็นหัวหน้า ให้ความหมายรวมเป็นของยาวทั้งมวล ถ้าพูดตามความ จริงแล้วการเคลื่อนไหวการต่อสู้จะทำได้ดีซึ่งส่วนมากจะเป็นวงนอก ส่วนของสั้นจะทำได้ทั้งวงนอกและวงใน 
        ฉะนั้นคำว่า “กระบอง“ จึงถูกแยกเรียกเป็นที่รวมของอาวุธยาวที่ใช้แสดงทั้งหมด เช่น พลอง กระบอง ง้าวทุกชนิด โตมร ทวน หอก เป็นต้น 
        การเรียกกระบี่กระบองยังมีหลักฐานให้เห็นชัดในเรื่องอาวุธที่นิยมใช้แสดงและเล่นกัน คือ คู่ของไม้ศอกสั้นกับพลอง นั่นคือความหมายที่ถูกจัดให้เห็นว่า อาวุธสั้นคือลิง ผู้แสดงจะแสดงถึงหลักวิชาความคล่องแคล่วว่องไว ส่วนพลองหรือกระบองคือตัวแทนของยักษ์เป็นประเภทอาวุธยาว  เครื่องกระบี่กระบอง มีอยู่ ๒ ชนิด         คือ เครื่องไม้รำ กับเครื่องไม้ตี ทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นอาวุธจำลอง ส่วนมากทำมาจากหวาย มีความเหนียวและเบามือ เครื่องไม้รำนั้นลงรักปิดทองประดับกระจกอย่างสวยงาม ส่วนเครื่องไม้ตีไม่ได้ตกแต่งอะไร 
         กระบี่ เครื่องไม้รำทำด้วยหวายหรือเอ็นสัตว์ถักเป็นปลอก สวมแกนโลหะที่ยาวตลอดลงไปถึงด้ามด้วย ตอนปลายเป็นหวายหรือเอ็นถึกคล้ายหางกระเบน มักจะลงรักให้แข็ง บางทีทาสีแดงตลอด ด้ามมีโกร่งกันมือ ส่วนเครื่องไม้ตีนั้นทำอย่างเดียวกันแต่ไม่ตกแต่งอะไร 
         กระบองหรือพลอง เครื่องไม้รำทำด้วยหวายหรือไม้จริงลงรักปิดทอง เขียนลายรดน้ำหรือทาสีแดงตลอด ไม่มีโลหะประกอบอยู่ด้วยเลย บางทีก็ประดับกระจกอย่างกระบองของเจ้าเงาะในละครรำ เครื่องไม้ตีทำด้วยไม้รากไทรหรือหวายขนาดใหญ่ ลงรักดำหรือทาสีแดงตลอด ตอนปลายทั้งสองข้างใช้เชือกขนาดเล็กพันไว้ 
         ดาบ เช่นเดียวกับกระบี่ แต่ไม่มีโกร่งกันมือ เครื่องไม้รำทำสวยงามมากดูคล้ายมีฝักอยู่ด้วย ส่วนเครื่องไม้ตีทำด้วยหวายเพื่อให้สามารถตีได้ไม่หัก การใช้ดาบนั้น มีทั้งดาบเดี่ยว ดาบคู่ ดาบกับดั้ง ดาบกับเขนดาบกับโล่แล้วแต่จะกำหนด 
         ง้าว เครื่องไม้รำประดิษฐ์ตกแต่งสวยงามมาก ทำด้วยไม้จริง มีลักษณะใกล้เคียงกับง้าวของจริงมาก ส่วนเครื่องไม้ตีทำด้วยหวาย ไม่มีการตกแต่งอย่างใด