0

การเลือกใช้บริการสุขภาพในชีวิตประจำวัน

การเลือกใช้บริการสุขภาพในชีวิตประจำวัน

  การบริการสุขภาพ  คือ  การจัดบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขในรูปแบบต่างๆเพื่อแก้ปัญหาความต้องการของประชาชนในเรื่องสุขภาพ และเป็นการยกระดับสุขภาพของประชาชนให้ดีขึ้น   การมีสุขภาพดี  หมายถึง  การมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ และมีความสมดุลทั้งทางกาย  จิตใจ  สังคม  และสติปัญญา

การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในชนบท

หลักการสาธารณสุข

ศาสตราจารย์ชารลส์-เอดวาร์ด เอ วินสโลว์
(Charles-Edward A. Winslow) ผู้มีชื่อเสียงทางด้านสาธารณสุข ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “การสาธารณสุข” ไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ว่า

“การสาธารณสุขเป็นวิทยาการ และศิลปะแห่งการป้องกันโรค การทำให้อายุยืนยาว การส่งเสริมอนามัย และประสิทธิภาพของบุคคล โดยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจของชุมชนในเรื่องต่างๆ อันได้แก่ การสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อม การควบคุมโรคติดต่อ การให้สุขศึกษาเกี่ยวกับสุขวิทยาส่วนบุคคล การจัดบริการทางด้านการแพทย์และพยาบาล เพื่อการวินิจฉัยโรคตั้งแต่เริ่มแรก และให้การรักษา เพื่อมิให้ลุกลามต่อไป รวมทั้งการพัฒนากลไกแห่งสังคม เพื่อให้ทุกคนมีมาตรฐานการครองชีพ ที่เพียงพอต่อการดำรงไว้ ซึ่งอนามัยที่ดีของตน”

บุคคลในชุมชนที่มีการสาธารณสุขดี ย่อมมีสุขภาพอนามัยที่ดีตามไปด้วย คำว่า “อนามัย” หมายถึง สภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกาย และจิตใจ รวมทั้งการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยดี มิใช่เพียงสภาวะที่ปราศจากโรคหรือความพิการ เท่านั้น

โดยสรุปการสาธารณสุขประกอบด้วย

๑. การสุขาภิบาล
๒. การบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม
๓. การรักษาและการควบคุมโรคติดต่อ
๔. สุขวิทยาส่วนบุคคล
๕. บริการทางการแพทย์และพยาบาล
๖. การพัฒนากลไกแห่งสังคม
ความหมายของการสาธารณสุขมูลฐาน

การสาธารณสุขมูลฐาน เป็นกลวิธีทางสาธารณสุขที่พัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนการบริการสาธารณสุขของรัฐที่มีอยู่เดิม โดยให้ความสำคัญในการดำเนินงานระดับตำบล และหมู่บ้าน ด้วยการผสมผสานการให้บริการทั้งทางด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพที่ประชาชนดำเนินการเอง ซึ่งประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน และการประเมินผล โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในด้านวิชาการ ข้อมูลข่าวสาร การให้การศึกษาฝึกอบรม และระบบส่งต่อผู้ป่วย โดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก และผสมผสาน การพัฒนาการสาธารณสุขกับการพัฒนาด้านการศึกษา การเกษตรและสหกรณ์และการพัฒนาชุมชนเพื่อให้ประชาชนสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง และพึ่งตนเองได้

 
หลักการและเหตุผลของการสาธารณสุขมูลฐาน

ตามนโยบายการเร่งรัดพัฒนาชนบท ที่จะทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งมีฐานะยากจน ด้อยการศึกษา และมีสถานภาพทางสุขภาพต่ำ ให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้นนั้น รัฐบาลถือว่า สุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศ ประชาชนในชนบท เป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องได้รับการบริการสุขภาพที่ดี แต่การบริการสาธารณสุขที่รัฐบาลได้ดำเนินการมา ยังไม่สามารถครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ได้ งบประมาณที่กระทรวงสาธารณสุขได้รับประมาณ ร้อยละ ๔ – ๕ ของงบประมาณทั้งประเทศนั้น ส่วนใหญ่ถึงร้อยละ ๖๕ – ๘๐ นำไปใช้ในการจัดสร้างสถานบริการสาธารณสุขต่างๆ เช่น โรงพยาบาล สถานีอนามัย และสำนักงานผดุงครรภ์ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดบริการสาธารณสุข สามารถให้บริการประชาชนได้ครอบคลุมเพียงร้อยละ ๑๕ – ๓๐ เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับสถานบริการสาธารณสุข เช่น ในเขตเมืองหรือตำบลใกล้เคียง นอกจากมีงบประมาณจำกัดแล้ว การกระจายบุคลากรทางการแพทย์ และการสาธารณสุขยังไม่สมดุลกันอีกด้วย คือ แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่ ประจำอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือตามเมืองใหญ่ มีเพียงส่วนน้อยที่ประจำอยู่ในชนบท และเหตุผลที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ สถานบริการสาธารณสุขที่มีอยู่นั้น ประชาชนไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ทั้งทางด้านการรักษาพยาบาล การ ส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ในเรื่องสุขภาพอนามัย และประโยชน์ของสถานบริการสาธารณสุขของรัฐที่มีอยู่

          ดังนั้น การที่จะขยายบริการสาธารณสุข ให้ครอบคลุมประชากรในชนบทให้มากยิ่งขึ้น มีการใช้ประโยชน์ของสถานบริการต่างๆ อย่างเต็มที่ ประชาชนสามารถรักษาโรคอย่างง่ายๆ ได้ เพราะประชาชนได้มีส่วนรับผิดชอบสุขภาพอนามัยของตนเอง กระทรวงสาธารณสุขจึงคำนึงถึงกลวิธีใหม่ คือ พัฒนาประชาชนให้เกิดความรู้ความสามารถ ที่จะช่วยเหลือ หรือดำเนินการสาธารณสุขที่จำเป็นขั้นมูลฐาน หรือพื้นฐานได้ด้วยตนเอง โดยวิธีการนี้ ก็จะมีงานสาธารณสุขที่ประชาชนทำได้ และที่ประชาชนทำไม่ได้ รัฐบาลจะทำในสิ่งที่ประชาชนทำไม่ได้ และจะต้องทำการพัฒนาสนับสนุนให้ประชาชนเกิดความสามารถ ทำในสิ่งที่เขาสามารถทำได้ โดยอาศัยวิทยาการต่างๆ เมื่อเป็นเช่นนี้จะพอเห็นได้ว่า แม้ว่าทรัพยากรไม่เพิ่มขึ้น บริการสาธารณสุขที่จำเป็นขั้นมูลฐาน หรือพื้นฐานก็สามารถเข้าถึงประชาชนได้ทุกคน
แนวคิดของการสาธารณสุขมูลฐาน
แนวคิดในเรื่องการสาธารณสุขมูลฐาน ของประเทศไทย เกิดจากประสบการณ์ของประเทศเราเอง แนวคิดของสากลประเทศสอดคล้อง และสนับสนุนแนวคิดของประเทศไทยเราว่า ได้ดำเนินการมาแล้วอย่างถูกทิศทาง
ในด้านการพัฒนาสังคมของประเทศนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเกี่ยวข้องกับงานด้านอื่น ที่มีส่วนโดยตรงในการพัฒนา ได้แก่ ทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การเกษตร การตลาด การปกครอง การพัฒนาชุมชน เมื่อแนวคิดของการสาธารณสุขมูลฐานเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงโดยตรง กับการพัฒนาทางสังคม การสาธารณสุขมูลฐาน จึงต้องผสมผสานกับงานพัฒนาสังคมด้านอื่นๆ และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ของการพัฒนาทั้งหมด ดังนั้นการสาธารณสุขมูลฐาน จึงต้องดำเนินการโดยประชาชนเอง และเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ทั้งนี้ประชาชนจะต้องช่วยกันหารือ ค้นหาว่า อะไรคือปัญหา อะไรคือความจำเป็นที่จะต้องช่วยกันทำ ช่วยกันแก้ แต่ก่อนที่ประชาชนจะดำเนินการกันเองได้นั้น ประชาชนจะต้องช่วยกันพิจารณาว่า ใครเป็นผู้เหมาะสมที่จะดำเนินการได้ และผู้ที่ได้รับเลือกจากประชาชนนั้น จะต้องเป็นสมาชิกของชุมชนในหมู่บ้าน เมื่อประชาชนได้เลือกผู้ที่เหมาะสมมาแล้วให้เป็น ผู้สื่อข่าวสาธารณสุข (ผสส.) หรืออาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เขาก็จะต้องได้รับการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของเขา โดยศึกษาจากปัญหาที่มีอยู่ในชุมชน หรือในหมู่บ้านของเขาเอง ถ้าหากประชาชนทุกคนได้ร่วมกันปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานดังกล่าว รัฐจะต้องให้การสนับสนุน เพื่อเชื่อมโยงบริการสาธารณสุขของรัฐที่จัดให้เป็นปกติอยู่แล้ว ให้เกิดผลต่อประสิทธภาพ และประสิทธิผลของการบริการสาธารณสุขพื้นฐาน และถ้าประชาชนทุกคน หรือประชาชนส่วนใหญ่ มีสุขภาพอนามัยดีแล้ว ก็จะทำให้ภาวะทางสังคม หรือการพัฒนาทางสังคมของประเทศ ดีขึ้นตามไปด้วย คุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคน ก็ต้องดีตามอย่างแน่นอน
องค์ประกอบของงานสาธารณสุขมูลฐาน
ประกอบด้วย การบริการแบบผสมผสาน ๔ ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การ รักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ ซึ่งงานทั้ง ๔ ด้านนี้ สามารถแยกออกเป็นงานที่ประชาชน จะมีส่วนร่วมในการดำเนินงานได้ดังต่อไปนี้ คือ
๑. การให้การศึกษาวิธีป้องกัน และการควบคุมปัญหาสุขภาพอนามัยที่มีอยู่
โดยการให้สุขศึกษาในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องที่หมู่บ้านได้เลือกจะดำเนินงานตามแผนสาธารณสุขหมู่บ้าน หรือเรื่องที่เป็นปัญหาของท้องถิ่น และดำเนินงานตามกิจกรรมที่กำหนด เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพอนามัยให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน หรือในชุมชน
๒. การสนับสนุนการจัดหาอาหาร และโภชนาการ
มุ่งเน้นที่กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี และหญิงมีครรภ์ โดย ผสส. และ อสม. ทำหน้าที่กระตุ้นเตือนให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาโภชนา-การที่เกิดขึ้น เช่น โรคขาดสารอาหารในเด็กอายุ ต่ำกว่า ๕ ปี หรือเด็กแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย เป็นต้น โดยร่วมมือกับชุมชนในการเฝ้าระวัง ทางโภชนาการของเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี ให้ความรู้โภชนศึกษาแก่มารดา และประชาชน ตลอดจน ส่งเสริมการผลิตอาหารที่มีคุณค่าในหมู่บ้าน
๓. การจัดหาน้ำสะอาดให้พอเพียง และการสุขาภิบาลขั้นพื้นฐาน
สนับสนุนให้ประชาชนมีบทบาทในการพัฒนาการสุขาภิบาลได้ด้วยตนเอง โดย ผสส. และ อสม. ชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงความสำคัญ ของการจัดหาน้ำสะอาดไว้ดื่ม การสร้างส้วม การกำจัดขยะมูลฝอย การจัดบ้านเรือนให้สะอาด และรวบรวมข้อมูลในหมู่บ้าน พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายที่จะดำเนินการ เพื่อพัฒนาการสุขาภิบาลในหมู่บ้าน
๔. การดูแลอนามัยแม่และเด็ก และการวางแผนครอบครัว
ผสส. และ อสม. ชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงความสำคัญ ความจำเป็นของการดูแลก่อนคลอด (การฝากครรภ์) การคลอด และการดูแลหลังคลอด พร้อมทั้งนัดหมายเจ้าหน้าที่ ในการออกไปตรวจครรภ์ก่อนคลอด นัดหมายมารดา มารับบริการ และความรู้ในการปฏิบัติตัวที่ถูกสุขลักษณะ ตลอดจนเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก
๕. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อต่อต้านโรคติดต่อที่สำคัญ
เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคติดต่อ ที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี อย่างทั่วถึงนั้น ผสส. และ อสม. ซึ่งเป็นแกนกลางจะชี้แจงให้ประชาชน ทราบถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีน และนัดหมายเจ้าหน้าที่ ออกไปให้บริการแก่ประชาชนตามจุดนัดพบต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นที่บ้าน หรือที่ประชุมหมู่บ้านก็ได้
๖. การป้องกัน และควบคุมโรคระบาดในท้องถิ่น
ผสส. และ อสม. ชี้แจงให้ประชาชนทราบว่า ในหมู่บ้านมีโรคอะไรบ้างที่เป็นปัญหา เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคพยาธิ โรคไข้เลือดออก ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการป้องกัน และรักษา รวมทั้งการร่วมมือกันในการดำเนินการควบคุม และป้องกัน มิให้เกิดโรคระบาดขึ้นได้
๗. การรักษาพยาบาลที่เหมาะสมสำหรับโรค และการบาดเจ็บที่พบบ่อย
อสม.ให้การรักษาพยาบาลที่จำเป็นเบื้องต้นแก่ชาวบ้าน และชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงความสามารถของ อสม. ในการรักษาพยาบาล ชี้แจงให้ทราบถึงสถานบริการของรัฐ ผสส.และ อสม. ร่วมกับประชาชนในหมู่บ้านช่วยกันจัดหาเวชภัณฑ์สำหรับหมู่บ้าน และส่งต่อผู้ป่วย ถ้าเกินความสามารถของ อสม.
๘. การจัดหายาที่จำเป็นไว้ใช้ในหมู่บ้าน
โดยดำเนินการจัดตั้งกองทุนยาและเวชภัณฑ์ประจำหมู่บ้าน และดำเนินการให้ประชาชน สามารถซื้อยาได้จาก อสม. หรือจากกองทุนยาและเวชภัณฑ์ประจำหมู่บ้าน ได้สะดวกรวดเร็ว และในราคาถูก
๙. การทันตกรรมสาธารณสุข
ผสส. และ อสม. ชี้แจง และให้ความรู้ แก่ประชาชนเรื่องการดูแลฟัน โดยเฉพาะในเด็ก จะต้องมีการรักษาสุขภาพของช่อง

จากและฟัน ผสส. และ อสม. นัดหมายให้ประชาชนรับบริการ เมื่อมีหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่เข้ามาในชุมชน
๑๐. การสุขภาพจิต
ผสส.และอสม. ชี้แจงให้ประชาชนทราบ ถึงการส่งเสริมสุขภาพจิต การค้นหาผู้ป่วยในระดับชุมชน เพื่อจะได้รับการแนะนำที่ถูกต้อง งานนี้จะได้ผล ต่อเมื่อผสมผสานกับงานบริการอื่น รวมทั้งการร่วมมือของชุมชนแต่อย่างไรก็ดี องค์ประกอบต่างๆ ดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ครอบคลุมปัญหาของชุมชนในชนบท ซึ่งปัญหาดังกล่าวคงจะมีอยู่อีกนาน จนกว่าประชาชนทั้งหมดจะรับรู้ เข้าใจ และให้ความร่วมมือ ปฏิบัติตามหลักการของบริการสาธารณสุขมูลฐานเท่านั้น
หลักการทำงานสาธารณสุขมูลฐาน
หลักสำคัญๆ ในการทำงานสาธารณสุข มูลฐานที่เจ้าหน้าที่ควรยึดถือปฏิบัติ คือ

  • ไปหาชาวบ้าน
  • อยู่กับชาวบ้าน 
  • เรียนรู้จากชาวบ้าน 
  • ทำงานร่วมกับชาวบ้าน 
  • วางแผนร่วมกับชาวบ้าน 
  • เริ่มงานจากสิ่งที่ชาวบ้านรู้ 
  • สร้างสรรค์จากสิ่งที่ชาวบ้านรู้ 
  • สอนโดยแสดงให้เห็นจริง 
  • เรียนโดยการทำงาน 
  • ไม่ทำงานอย่างฉาบฉวยเอาหน้า 
  • ทำงานอย่างมีระบบ 
  • ไม่ทำงานอย่างกระจัดกระจายให้สูญเปล่าทรัพยากร

ความสำคัญของบริการทางการแพทย์ และการสาธารณสุขในชุมชน
ใน พ.ศ. ๒๕๒๐ องค์การอนามัยโลก ได้มีการประชุมคณะกรรมการใหญ่ และกำหนดนโยบายที่แน่ชัดว่า ภายใน ๒๐ ปี ข้างหน้า ประชาชนทุกคนในโลก โดยเฉพาะในประเทศด้อยพัฒนา ควรมีสิทธิเท่าเทียมกันในเรื่องสุขภาพอนามัยที่ดีของตนเอง
การสาธารณสุขมูลฐาน จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนจากการแพทย์ และการสาธารณสุขระดับอื่น ซึ่งต้องเชื่อมโยงพึ่งพากัน เช่น การสนับสนุนในทางวิชาการ เทคโนโลยี
การพัฒนากำลังคน การศึกษาวิจัย และการรับ การส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหายากเกินความสามารถของชุมชน โครงการตามพระราชประสงค์ในปัจจุบัน มีบทบาทอย่างสูงต่อการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนสามารถก้าวไปสู่จุดหมายตามแนวทางการพัฒนา ซึ่งอาจพิจารณาได้เป็น ๓ ประการดังนี้
๑. ทางด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งเป็นผลที่ได้รับได้โดยตรง จะช่วยแก้ปัญหาการเจ็บป่วย หรือทุพพลภาพได้เป็นจำนวนมาก ในปีหนึ่งๆ จำนวนราษฎรทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมดที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ ในการบำบัดรักษาจากหน่วยแพทย์พระราชทานนั้น เป็นชาวชนบทผู้ยากจน หรือเป็นเกษตรกร ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
๒. ทางด้านเศรษฐกิจ ราษฎรเจ็บป่วย เมื่อได้รับการบำบัดรักษาให้มีสุขภาพพลานามัยที่ดีแล้ว ก็สามารถประกอบอาชีพได้ เกิดผลิตผล มีรายได้มาเลี้ยงครอบครัว เศรษฐกิจของแต่ละครอบครัวดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจส่วนรวมของสังคมดีขึ้นด้วย
๓. ทางด้านสังคมจิตวิทยา ราษฎรผู้เจ็บป่วย ได้รับความช่วยเหลือให้พ้นจากความทุกข์ทรมาน มีสุขภาพแข็งแรง หรือผู้ทุพพลภาพพิการก็ได้ รับการแก้ไข จนสามารถเข้าสังคมกับคนทั่วไปได้บุคคลเหล่านี้กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ ย่อมก่อให้เกิดสายใยเชื่อมโยงความรักความสามัคคีของชนในชาติ โดยมีองค์พระประมุขของชาติ เป็นศูนย์รวมแห่งสายใยนั้น

โครงการตามพระราชดำริด้านการแพทย์
โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน เกิดขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๑๐ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน ประทับแรม ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล เครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนยารักษาโรค ไปยังท้องถิ่นกันดารในจังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีหน่วยแพทย์ของทางราชการเข้าไปถึง เพื่อให้การตรวจรักษาราษฎร โดยไม่คิดมูลค่า ต่อมาได้จัดตั้งหน่วยทันตแพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน ทำการตรวจรักษาโรคฟันบนรถขนาดใหญ่ มีเครื่องมือ และเก้าอี้ทำฟัน ออกไปปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในปัจจุบัน โครงการตามพระราชดำริด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้ขยายขอบข่ายออกไปอย่างกว้างขวาง กล่าวคือ เมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน เพื่อเยี่ยมราษฎร และทรงงานโครงการต่างๆ ยังต่างจังหวัด จะมีคณะแพทย์อันประกอบด้วย แพทย์ประจำพระองค์ แพทย์หลวง และแพทย์อาสาสมัครจากหลายหน่วยงาน และหลายสาขาวิชา คอยตามเสด็จพระราชดำเนินไปในจังหวัด อันเป็นที่ตั้งพระตำหนัก ที่ประทับแรม และจังหวัดใกล้เคียง เพื่อร่วมปฏิบัติงานสนองพระราชประสงค์ ในสายการแพทย์ ซึ่งอาจแบ่งตามลักษณะของงานได้ ๔ ประการ คือ
๑. การให้การบำบัดรักษาราษฎรในตำบล ที่เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียน หรือณ พระตำหนัก หรือโรงพยาบาลในจังหวัดที่เสด็จแปรพระราชฐาน รวมทั้งการรักษาผู้ป่วยเจ็บ พิการ ซึ่งทรงรับไว้เป็นผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์ และส่งไปรับการตรวจรักษาในกรุงเทพมหานคร
๒. การฝึกอบรมประชาชนให้มีความรู้ความสามารถ ในการช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว และชุมชนในด้านสุขภาพ รวมทั้งการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในกรณีที่เกินขีดความสามารถของชุมชน ซึ่งได้แก่ การอบรมหมอหมู่บ้านตามพระราชดำริ
๓. การจัดหาแหล่งน้ำชลประทานตามพระราชดำริ เพื่องานเกษตรกรรม สอดคล้องกับงานสาธารณสุขมูลฐานเกี่ยวกับน้ำสะอาด เพื่อการใช้ และการบริโภค
๔. การจัดโครงการเพาะปลูกพืชทดแทน ส่งเสริมโคนม และเกษตรกรรมตามพระราชดำริ เป็นอีกงานหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการโภชนาการของประชาชน ซึ่งเกี่ยวกับการสาธารณสุขมูลฐานโดยตรงเช่นกัน

0

การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสียง

ปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ และความปลอดภัย
     ปัจจัยเสี่ยง   หมายถึง   องค์ประกอบด้านกายภาพ   สังคม   หรือสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ  ชีวิต   หรือทรัพย์สิน   พฤติกรรมเสี่ยง   หมายถึง   การกระทำของบุคคลที่อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ  ชีวิต   หรือทรัพย์สิน   ในปัจจุบันโลกมีความเจริญขึ้นแต่ความปลอดภัยกลับลดน้อยลง  ทั้งนี้เพราะมีปัจจัยเสี่ยงต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพความปลอดภัยมากมายในที่นี้จะขอนำเสนอเพียงบางส่วนซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อชีวิตคนเรา
    1. พฤติกรรมสุขภาพ   เป็นการปฏิบัติตนที่มีผลต่อสุขภาพ   หากปฏิบัติตนไม้เหมาะสมจะทำ
ให้สุขภาพเสื่อมลง  เช่น  การไม่ออกกำลังกาย   การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์  การใช้สารเสพติดการสำส่อนทางเพศ  การพักผ่อนไม่เพียงพอ  การไม่ระวังโรคติดต่อ  เป็นต้น  
   2.การสัญจร   โดยพาหนะทั้งที่เป็นรถยนต์รถจักรยานยนต์   รถไฟ  เรือ   เครื่องบิน   เป็นต้น
ยิ่งมีการสัญจรเดินทางมากอุบัติเหตุก็มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
   3.สิ่งแวดล้อม    ในปัจจุบันมีมลพิษมากมากทำให้สิ่งแวดล้อมแย่ลง   ดังนั้น  คนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีขยะส่งกลิ่นเหม็น   น้ำเน่า  อากาศเป็นพิษ  มีพวกมิจฉาชีพมากสารเสพติดแพร่ระบาดมาก  ใกล้โรงอุตสาหกรรมสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดอันตารายต่อสุขภาพและชีวิตมากพอสมควร  
   4. การอุปโภค   คือการใช้สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆปัจจุบันมีเครื่องอุปโภคที่แฝงไว้ด้วยพิษภัย
หลายอย่าง  เช่น  เครื่องสำอาง   เตาแก๊ส   เครื่องใช่ไฟฟ้า   เป็นต้น  ซึ่งถ้าไม่รู้จักเลือกใช้หรือใช้ไม่ถูกต้องก็เป็นอันตรายได้เหมือนกัน 
   5.การบริโภค   ปัจจุบันอาหาร การกิน    มีสารพิษปนเปื้อนมากมาย   เช่น ขนมผสมสีย้อมผ้า   ปลาเค็มฉีดดีดีที   ปลาสด แช่สารฟอร์มาลีน    ผักมีสารพิษ  สิ่งเหล่านี้ เข้าไปสะสมในร่างกายจนถึงระยะหนึ่งเมื่อ สะสมมากขึ้นจะทำไห้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติ   โรคภัยไข้เจ็บจะเบียดเบียนทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่ปลอดภัย
   6. อุบัติเหตุในบ้าน   การใช้ชีวิตอยู่ในบ้านก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้เหมือนกัน 
  แนวปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติด
     สาเหตุของการติดสารเสพติด โดยทั่วไปผู้ที่ติดสารเสพติดมักมีสาเหตุ
   1.สภาพทางจิต   ซึ่งได้แก่   ขาดความรักความอบอุ่นจากครอบครัว     มีจิตใจอ่อนแอ
ไม่หนักแน่น    มีความคึกคะนอง     อยากรู้อยากเห็น    อยากลอง   อยากอวดเพื่อน   คิดว่าเป็นสิ่งที่โก้เก๋ก็มีหรือแสดงความเป็นชาย    แต่ผู้หญิงบางคนก็เสพสารเสพติดเพราะคิดว่าโก้เก๋ก็มี
   2. สภาพแวดล้อม   ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีผู้ใช้และผู้ขายสารเสพติดกันมาก    มีเพื่อนฝูง
ที่ใช้สารเสพติด    มีสิ่งยั่วยุ   แหล่งบันเทิงเริงรมย์   ซึ่งเป็นแหล่งที่มักมีสารเสพติดใช้กัน
   3.ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์    เนื่องจากขาดความรู้และประสบการณ์    อาจถูกเพื่อนหลอกให้เสพหรือไม่รู้ถึงพิษภัยว่าร้ายแรงเพียงใด    หรือสารเสพติดบางอย่างเสพครั้งสองครั้งก็ติด
   4.ความจำเป็นของร่างกาย    ใช้เนื่องจากระงับความเจ็บปวด    ลดความตึงเครียดทางประสาทหรือบางอาชีพต้องทำงานหนักเป็นเวลานาน    จึงใช้สารเสพติดเพื่อให้ทำงานได้นาน
  การออกฤทธิ์ของสารเสพติด
      ฤทธิ์ของสารเสพติด   แบ่งได้เป็น  4  แบบ  ดังนี้
   1.  ออกฤทธิ์กดประสาท   ( Depressant )  จะทำให้เกิดอาการมึนงง   ง่วงซึม   หมดแรง
หายใจช้าลง   สารเสพติดที่ออกฤทธิ์กดประสาท   ได้แก่   ยานอนหลับ   เฮโรอีน  มอร์ฟีน  ฝิ่น  เมธาโดน  เซโคนัล   บาร์บิทูเรต    ฟีโนบาร์บิตาล    โบรไมด์    พาราดีไฮด์
   2. ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท  (  Stimulant )   จะทำให้ประสาทตื่นตัว    กระวนกระวาย
ไม่ง่วงนอน    แต่ถ้าหมดฤทธิ์ยาจะง่วงนอนทันที    อาจทำให้หลับง่ายหรืออาจเกิดการหลับใน   อาการ อื่นๆ  เช่น    ตัวสั่น   เครียด   เป็นต้น   สารเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท   ได้แก่   ใบกระท่อม   ยาบ้า  โคเคอีน
   3. ออกฤทธิ์หลอนประสาท   ( Hallucinogen )   จะทำให้ประสาทหลอน   ประสาทสัมผัส
ทางตา    หู    จมูก    ลิ้น    การสัมผัสจะเปลี่ยนไปจากความเป็นจริง    สารเสพติดที่ออกฤทธิ์หลอนประสาทได้แก่    กัญชา   แอล.เอส.ดี   ( Lysergic  Acid  Dicthylamide : L.S.D.)  ดี.เอ็ม.ที (Dimethy  Tryptamine : D.M.T.)   กาว    ทินเนอร์
4.ออกฤทธิ์ผสมผสานกัน  ( Mixed ) จะออกฤทธิ์ทั้ง 2 แบบรวมกันหรือทั้ง 3 แบบรวมกัน
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น    สารเสพติดที่ออกฤทธิ์ผสมผสานกัน   ได้แก่   กัญชา   ถ้าเสพจำนวนน้อย
จะกดประสาทชั่วระยะหนึ่ง    ต่อเมื่อเสพเพิ่มเข้าไปมากจะกลายเป็นพิษหลอนประสาทได้   สารระเหยเมื่อสูดดมในระยะแรกจะกระตุ้นประสารทต่อมาจะหลอนประสาท 
   วิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด
      สารเสพติดมีอันตรายต่อผู้ใช้หรือผู้เสพ    ดังนั้น   เราจึงต้องมีวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด 
   1.ครอบครัวที่อบอุ่นจะเป็นรั้วป้องกันสารเสพติดได้เป็นอย่างดี
   2.  ต้องมีใจคอหนักแน่น    อาจมีเพื่อน ชักชวนให้เสพก็ต้องปฏิเสธอย่าไปเสพไม่ต้องเกรงใจเพื่อนในทางที่ผิด
   3.  อย่าลองเป็นอันขาด   เพราะจะนำไปสู่การใช้สารเสพติดบ่อยครั้งจนเกิดการติดได้   สารเสพติดบางอย่างเสพครั้งสองครั้งก็ติดแล้ว
   4.  ต้องคิดใหม่   อย่าคิดแบบเก่า ๆ  คือคิดว่าการเสพสารเสพติดเป็นสิ่งที่โก้เก๋    เป็นคนเก่ง
เพื่อนฝูงจะยอมรับ   ควรคิดใหม่    คือต้องคิดว่าคนที่เสพเป็นคนที่เสพเป็นคนที่น่าอับอาย  น่ารังเกียจเป็นคนอ่อนแอชักจูงง่าย  ถ้าเพื่อนฝูงไม้รับเพราะเราไม้เสพก็ชั่งเขาไม้ต้องไปคบด้วยกับเพื่อนคนที่ชักชวน เราไปสู่ความหายนะ
   5. ต้องตระหนักถึงพิษภัยเพราะสารเสพติดทุกชนิดมีพิษภัยต่อร่างกายทั้งสิ้น
   6. ต้องตระหนักว่าการที่นักเรียนไปใช้สารเสพติด   ถ้าพ่อแม่   ผู้ปกครองรู้จะทำให้ท่านเสียใจ
   7. พยายามหลีกเลี่ยงจากสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้สารเสพติด   เช่น  หลีกเลี่ยงจากเพื่อน
ที่ใช้สารเสพติด   ไม่ไปเที่ยวสถานบันเทิงเริงรมย์   เป็นต้น
   8. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดชนิดต่าง ๆ  เพื่อให้รู้ถึงอันตรายและเรียนรู้วิธีหลีกเลี่ยงและป้องกัน   
   9. ไม่ใช้สารเสพติดเพื่อการรักษาโรคด้วยตนเอง     ยาบางชนิดมีสารเสพติดผสมอยู่    เช่น
ยาระงับปวดบางชนิด    ยาแก้ไอบางชนิด
   10. ควรหากิจกรรมทำอย่าให้มีเวลาว่างมาก   ขณะนี้มีคำที่นิยมใช้และมีการจัดตั้งกันมากมายก็คือ   “ ลานกีฬาต้านยาเสพติด ’’ ซึ่งการเล่นกีฬาจะทำให้สนุกสนาน   มีเวลาว่างน้อยลง   ก็จะช่วยไม่ให้คนเราหันเหไปใช้สารเสพติดได้
   11. ถ้ามีปัญหาไม่พึ่งสารเสพติด   ควรปรึกษาพ่อแม่   ผู้ปกครอง   ครู   อาจารย์   ญาติผู้ใหญ่
   12.  ถ้าพบว่ามีการจำหน่าย    จ่ายแจกสารเสพติดกันในบริเวณโรงเรียนให้แจ้งครูอาจารย์
ถ้านอกโรงเรียนให้บอกผู้ปกครองให้ไปแจ้งตำรวจ   แต่ต้องระมัดระวังในเรื่องความปลอดภัยด้วย  เพราะถ้าผู้จำหน่ายรู้ว่าใครขัดผลประโยชน์หรือทำให้เขาเดือดร้อน    
   ความหมายและประเภทของความรุนแรง
      ความรุนแรง   หมายถึงการทำร้ายทางร่างกาย     การทำร้ายทางจิตใจ   การทำร้ายทางเพศ และการทอดทิ้งเด็กที่มีอายุต่ำกว่า  18  ปี ความรุนแรงมี 4  ประเภท
   1. การทำร้ายร่างกาย   คือ  มักเกิดจากการทุบ   ตี   ต่อย   เตะ   จับศีรษะโขกกับของแข็ง ใช้เทียนหยดลงตามตัว   ขว้างปาด้วยสิ่งของ   แทง   ฟัน   ยิง   หรือทรมานร่างกายด้วยวิธีต่าง ๆ
   2. การทำร้ายทางจิตใจ    เป็นการกระทำด้วยกิริยาวาจา  ทาทาง  สายตา  สีหน้า  จนทำให้ผู้ถูกกระทำเจ็บชำนำใจ  อับอาย  อาจถึงขั้นคิดสั้นได้  การกระทำดังกล่าว   ได้แก่  การด่า  บังคับขู่เข็ญการดูถูกเหยียดหยามการเยาะเย้ยถากถาง  การข่มขู่  การไล่ออกจากบ้าน  การหน่วงเหนี่ยวกักขัง  ตลอดจนการรบกวนต่าง ๆ ทางจิตใจของผู้ผูกกระทำ
   3. การทำรายทางเพศ  ผู้ที่ถูกทำร้ายทางเพศมักได้แก่เพศหญิงและมีเด็กชายบ้างเหมือนกัน ลักษณะการทำร้ายทางเพศมีหลายรูปแบบ  เช่น  การถูกจับหน้าอก  ถูกจับก้น  ถูกจับอวัยวะเพศ การถูกฝ่ายชายเอาอวัยวะเพศมาถูไถร่างก่ายขณะอยู่ในชุมชน  การถูกปลุกปล้ำ   การถูกข่มขืน
โดยผู้ชายคนเดียว  การถูกข่มขืนโดยผู้ชายหลายคน  การถูกบังคับให้ถอดเสื้อผ้าเพื่อถ่ายภาพ ถูกพูดจาลวนลาม  ล่วงเกินทางเพศ  ถูกตัดแต่งภาพโดยใช้รูปโป๊ของผู้อี่นแต่ใช้หน้าผู้เสียหายออก  เผยแพร่ให้ สาธารณชนได้เห็น เป็นต้น
   4. การทอดทิ้งเด็ก  อาจทอดทิ้งตั้งแต่แรกเกิด  จนถึงการทอดทิ้งเด็กโตซึงอายุไม่ไม่เกิน  18  ปี  จนผู้ทอดทิ้งได้รับความเดือดร้อน
หรือถึงขั้นเสียชีวิต ปัจจุบันนี้เรื่องการทอดทิ้งเด็ก เด็กมีมากมายในสังคมไทยทั้งนี้เกิดจากความ ไม่รับผิดชอบของผู้ใหญ่และพวกไวรุ่นใจแตก 
  พฤติกรรมและสาเหตุของการใช้ความรุนแรงในวัยรุ่น
      พฤติกรรมและสาเหตุของการใช้ความรุนแรงในวัยรุ่น  มีหลายประเภทดังนี้
   1.การทะเลาะวิวาทภายในสถาบัน   อาจเกิดจากบุคคล 2 คนที่ทำร้าย ชกต่อยตบตีกัน หรือเกิดจากบุคคล 2 ฝ่าย ฝ่ายละหลายๆคนหรือการรมทำร้ายกัน  ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่รุนแรง มากนักแค่เพียงเจ็บตัว  แต่บางครั้งก็อาจมีการแทงกัน  ยิงกัน  ดังข่าวที่ปรากฏทางหน้าหนังสือพิมพ์ ที่นานๆ ครั้งจะพบเห็นสาเหตุเกิดจากการไม่เข้าใจกัน  ความหมั่นไส้  ความหึงหวง
   2.การทะเลาะวิวาทภายนอกสถาบัน   มักเกิดจากนักเรียน  นักศึกษากลุ่มหนึ่งซึ่งมี เพียงเล็กน้อยเกิดความคึกคะนอง  อยากทำตัวโดดเด่น    ( ที่ไม่ถูกต้อง )   ไม่คิดถึงจิตใจของผู้อื่น แม้กระทั่งพ่อแม่ของตนเอง    ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม    ซึ่งขณะนี้ภาครัฐกำลังดำเนินการแก้ไข ปัญหานี้อยู่   สาเหตุมักเกิดจากการไปหาเรื่องกัน    การถูกชักชวนกันไปทะเลาะวิวาท   การที่มีเพื่อนถูกบางคนที่อยู่สถาบันอื่นทำร้าย    การมีนิสัยพาลเกเรไปทำร้ายผู้ที่ไม่รู้เรื่อง
   3. การถูกทำร้ายทางเพศ    วัยรุ่นจำนวนมากโดยเฉพาะผู้หญิงที่ถูกทำร้ายทางเพศ   ผู้ที่ ทำร้ายทางเพศส่วนใหญ่เป็นคนใกล้ตัว   เช่น   คู่รัก   เพื่อน   ญาติ   พี่เลี้ยง   เป็นต้น   ซึ่งโดยมาก มักจะถูกหลอก   ล่อลวง  และบังคับ   บางรายถูกทำร้ายทางเพศติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี  กว่าที่คนอื่นหรือทางราชการจะรู้เรื่องหรือผู้ถูกทำร้ายทางเพศยอมเปิดเผยเรื่องราว

  การป้องกันไม่ให้การเกิดความรุนแรง
     เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความรุนแรง    ควรมีวิธีป้องกันดังต่อไปนี้
   1.  เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่    ผู้ปกครอง   ครู    อาจารย์
   2.  เข้าร่วมกิจกรรมสร้างเสริมความสามัคคีในกลุ่มนักเรียน   เช่น  กีฬาสี
   3.  ฝึกตนเองให้สามารถรู้จักแก้ปัญหาด้วยการใช้ความคิดด้วยเหตุผล    หลีกเลี่ยงการใช้
อารมณ์   และใช้ความรุนแรง ควรมีการรวมกลุ่มตามความสนใจและความถนัดของตนเองเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  เช่น   กลุ่มดนตรี ฝึกสมาธิ เข้าร่วมกิจกรรมกล่อมเกลาจิตใจให้มีความอ่อนโยน   รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง  เช่นอบรมจริยธรรม   ฟังบรรยายธรรมะ  
   สรุป
        ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพประกอบด้วยปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมและปัจจัยเสี่ยง ด้านพฤติกรรม   ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม  เช่น  การเกิดอุบัติเหตุ  การเกิดภัยธรรมชาติ  เป็นต้น  ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรม  เช่น  การติดสารเสพติด  การบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและถ้าคนเราสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงดังที่กล่าวมาแล้วจะทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง   และมีความปลอดภัยในชีวิต

 

 

0

การช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด

การช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด

การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด หมายถึง การดำเนินงานเพื่อแก้ไขสภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้เลิกจากการเสพ และสามารถกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น ๓ ระบบ คือ
              ๑. ระบบสมัครใจ หมายถึง ผู้ติดยาเสพติดสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน

              ๒. ระบบบังคับบำบัด หมายถึง ผู้ที่ทางราชการตรวจพบว่ามีสารเสพติดในร่างกาย จะต้องถูกบังคับบำบัดตาม พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๓๔ ในสถานพยาบาลที่จัดขึ้นตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว เป็นระยะเวลา ๖ เดือน และขยายได้จนถึงไม่เกิน ๓ ปี ระบบนี้ยังไม่เปิดใช้ในขณะนี้ การบำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด มี ๔ ขั้นตอน คือ
                    ๒.๑ ขั้นเตรียมการก่อนบำบัดรักษา (Pre – admission) เพื่อศึกษาประวัติภูมิหลังของผู้ติดยาเสพติดทั้งจากผู้ขอรับการรักษา และครอบครัว
                    ๒.๒ ขั้นถอนพิษยา (Detoxification) เป็นการบำบัดรักษาอาการทางกายที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด โดยผู้ขอรับการรักษา สามารถเลือกใช้บริการแบบผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยใน ก็ได้ตามสะดวก
                    ๒.๓ ขั้นการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation) เป็นการบำบัดรักษาเพื่อปรับเปลี่ยน ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ พฤติกรรม เพื่อให้รู้จักตนเอง และมีความเข้มแข็งในจิตใจ เพื่อให้ผู้รับการบำบัดมีความเชื่อมั่นในการกลับไปดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ โดยไม่หวนกลับไปเสพซ้ำอีก
                    ๒.๔ ขั้นติดตามดูแล (After – case) เป็นการติดตามดูแลผู้เลิกยาเสพติดที่ได้ผ่านการบำบัดครบทั้ง ๓ ขั้นตอนข้างต้นแล้ว เพื่อให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหาและให้กำลังใจผู้เลิกยาเสพติด ให้ดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคมได้ยิ่งขึ้น
              ๓. ระบบต้องโทษ หมายถึง ผู้ติดยาเสพติดที่กระทำความผิดและถูกคุมขัง จะได้รับการบำบัดรักษา ในสถานพยาบาลที่กำหนดได้ตามกฎหมาย เช่น ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรมหรือสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง กระทรวงยุติธรรม

 การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบควบคุมตัว

การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แบบควบคุมตัวเข้มงวด หมายถึง การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ซึ่งผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดต้องอยู่ในสถานที่ควบคุมมิให้หลบหนีได้ง่าย หรือกำหนดเงื่อนไขให้ต้องอยู่ภายในเขตที่กำหนดในระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แบบควบคุมตัวไม่เข้มงวด หมายถึง การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ซึ่งผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดต้องอยู่ในสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามความเหมาะสม และมีการกำหนดเงื่อนไขให้ต้องอยู่ภายในเขตที่กำหนดในระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

วิธีการในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แบบควบคุมตัว

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แบบควบคุมตัวเข้มงวด มีวิธีการดำเนินการ 2 วิธี คือ วิธีการชุมชนบำบัด (TC) โดยศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ  ผู้ติดยาเสพติด (ลาดหลุมแก้ว) และวิธีการจิราสา โดยศูนย์ฟื้นฟูฯ กองทัพอากาศ  ทำการบำบัดเป็นระยะเวลา 4 เดือน จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการปรับตัวกลับสู่สังคม ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานคุมประพฤติ เป็นระยะเวลา 2 เดือน และเมื่อผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย คือ การติดตามผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด โดยผู้ประสานพลังแผ่นดิน สาธารณสุข หรือ อาสาสมัครคุมประพฤติ เป็นระยะเวลา 1 ปี

วิธีการ หน่วยปฏิบัติ ระยะเวลา
– ชุมชนบำบัด (TC)

– จิราสา

ศูนย์ฟื้นฟูฯ ลาดหลุมแก้ว

ศูนย์ฟื้นฟูฯ สังกัดกองทัพอากาศ

๔ เดือน

 

การจัดกิจกรรมปรับตัวกลับสู่สังคม ( 2 เดือน)

วิธีการ : การจัดกิจกรรมเพื่อความมั่นคงในการดำเนินชีวิต การส่งเสริมอาชีพ การทำงานบริการสังคม และการสุ่มเก็บปัสสาวะ

การติดตามผล 1 ปี

ผู้ประสานพลังแผ่นดิน สาธารณสุข และ อ.ส.ค.

2. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แบบควบคุมตัวไม่เข้มงวด ใช้วิธีการ FAST MODEL แต่รูปแบบการดำเนินการจะแตกต่างกันตามศักยภาพของหน่วยงานที่ดำเนินการ ได้แก่ ค่ายกองทัพบก ค่ายกองทัพเรือ ค่ายกองร้อย อส. และศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดของกรมการแพทย์ เป็นระยะเวลา 4 เดือน จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการปรับตัวกลับสู่สังคม ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานคุมประพฤติ เป็นระยะเวลา 2 เดือน และเมื่อผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย คือ การติดตามผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด โดยผู้ประสานพลังแผ่นดิน สาธารณสุข หรือ อาสาสมัครคุมประพฤติเป็นระยะเวลา 1 ปี

วิธีการ หน่วยปฏิบัติ ระยะเวลา
FAST MODEL

 

๑. ค่ายกองทัพบก

๒. ค่ายกองทัพเรือ

๓. กองร้อย อส.

๔. กรมการแพทย์

๔ เดือน

  การจัดกิจกรรมปรับตัวกลับสู่สังคม (2 เดือน)

วิธีการ : การจัดกิจกรรมเพื่อความมั่นคงในการดำเนินชีวิต การส่งเสริมอาชีพ การทำงานบริการสังคม และการสุ่มเก็บปัสสาวะ

 การติดตามผล 1 ปี

ผู้ประสานพลังแผ่นดิน สาธารณสุข และ อ.ส.ค.

 สถานที่ฟื้นฟูฯ แบบควบคุมตัวเข้มงวด

กองทัพอากาศ

ศูนย์ฟื้นฟูฯ บน. ๕๖ (สงขลา)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ โรงเรียนการบิน  (นครปฐม)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ กองทัพอากาศทุ่งสีกัน (กรุงเทพมหานคร)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ กองบิน ๔๖ (พิษณุโลก)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ อาคาร ๕๐๑๗ (AIR HOUSE) (กรุงเทพมหานคร)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ กองบิน ๕ (ประจวบคีรีขันธ์)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ กองบิน ๒๑ (อุบลราชธานี)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ กองบิน ๔ (นครสวรรค์)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ กองบิน ๔๑ (เชียงใหม่)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ กองบิน ๒ (ลพบุรี)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ กองบิน ๑ (นครราชสีมา)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ กองบิน ๒๓ (อุดรธานี)

 กองทัพเรือ

เรือนจำ ฐานทัพเรือสัตหีบ

กรมคุมประพฤติ

ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (บ้านลาดหลุมแก้ว) เลขที่ ๙๙ หมู่ ๓ ตำบลคูบางหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โทรศัพท์ ๐๒-๕๙๘-๑๓๙๑-๓

 แบบควบคุมตัวไม่เข้มงวด

กองทัพบก

ศูนย์วิวัฒน์พลเมืองศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิสร จังหวัดสระบุรี

ศูนย์วิวัฒน์พลเมืองกรมทหารพรานที่ ๒๖ จังหวัดนครราชสีมา

ศูนย์วิวัฒน์พลเมืองศูนย์สงครามพิเศษ

ศูนย์วิวัฒน์พลเมืองร้อยฝึกรบพิเศษที่ ๒

ศูนย์วิวัฒน์พลเมืองกรมการสัตว์ทหารบก

ศูนย์วิวัฒน์พลเมืองกองพลทหารราบที่ ๙

ศูนย์การทหารราบ (ค่ายธนรัชต์) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ค่ายสุริยพงษ์ จังหวัดทหารบกน่าน จังหวัดน่าน

ค่ายจักรพงษ์ จังหวัดปราจีนบุรี

ค่ายไพรีระย่อเดช จังหวัดสระแก้ว

ค่ายพระนั่ง เกล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

ค่ายวชิรปราการ จังหวัดทหารบกตาก. จังหวัดตาก

ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

ค่ายบดินทร์เดชา จังหวัดยโสธร

กรมทหารม้าที่ 4 จังหวัดสระบุรี

กรมทหารม้าที่ 5 จังหวัดสระบุรี

กองทัพเรือ

โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองกองทัพเรือ ๑

โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองกองทัพเรือ ๒

โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองกองทัพเรือ ๓

กองบัญชาการทหารสูงสุด

หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 51 จังหวัดอำนาจเจริญ

หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 53 จังหวัดศรีสะเกษ

หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 55 จังหวัดชัยภูมิ (ภูเขียว)

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธร ภาค 1 จังหวัดสระบุรี

หน่วยปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย

กรมการปกครอง

กองร้อยอาสารักษาดินแดงจังหวัดพะเยา

กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดพิษณุโลก

กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดบุรีรัมย์

กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดนครศรีธรรมราช

กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดหนองคาย

กองร้อยอาสารักษาดินแดงจังหวัดเลย

กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดกาฬสินธุ์

กองร้อยอาสารักษาดินแดนส่วนแยกชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดสตูล

กรมการแพทย์

สถาบันธัญญารักษ์ – ๖๐ ม.๑ อ.ธัญบุรี ต.ประชาธิปัตย์ จ.ปทุมธานี แ๒ ๕๓๑๐๐๘๐-๘

ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดเชียงใหม่ – ๑๘๒ ม.๗ ต.ขี้เหล็ก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ๐๕๓ ๒๙๙๓๐๒

ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดแม่ฮ่องสอน – อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ๐๕๓ ๖๑๓๐๕๑-๕

ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดขอนแก่น – ถ.มะลิวัลย์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ๐๔๓ ๓๔๕๓๙๑

ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดสงขลา – ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา ๐๗๔ ๔๘๖๓๙๕-๘

ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดปัตตานี – บ.ปากน้ำ อ.เมือง ต.สะมิแล จ.ปัตตานี ๐๗๓ ๓๓๘๐๗๐-๕ ต่อ ๘๑๑๑

ศูนย์รัตนานุรักษ์ – บ.สบค่อม ต.บ้านค่า อ.เมือง จ.ลำปาง ๐๖๑ ๘๕๗๐๕๗

สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร

บ้านพิชิตใจ – ๙๙/๙ ซ. อ่อนนุช ๙๐ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ ๑๐๒๕๐ โทรศัพท์ ๑๒-๓๒๙-๑๕๖๖

สังกัด ศูนย์ต่อสู้และเอาชนะยาเสพติด จังหวัดนนทบุรี

ศูนย์พัฒนาชีวิตใหม่

 การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบไม่ควบคุมตัว

การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แบบไม่ควบคุมตัว หมายถึง การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่ไม่จำเป็นต้องควบคุมตัว แต่อาจกำหนดให้ ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดต้องปฏิบัติด้วยวิธีการอื่นใดภายใต้การดูแลของพนักงานคุมประพฤติวิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แบบไม่ควบคุมตัว

  1. 1.              วิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แบบไม่ควบคุมตัว (กรณีผู้ติด) การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบไม่ควบคุมตัว (กรณีผู้ติด) แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอก ซึ่งวิธีการฟื้นฟูฯ จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอาการของผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และหน่วยงานที่ดำเนินการ ได้แก่ สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของรัฐบาล ชุมชน วัด และ ศตส.จ. เป็นระยะเวลา 4 – 6 เดือน จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการปรับตัวกลับสู่สังคม ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานคุมประพฤติ เป็นระยะเวลา 2 เดือน และเมื่อผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย คือ การติดตามผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด โดยผู้ประสานพลังแผ่นดิน สาธารณสุข หรือ อาสาสมัครคุมประพฤติ เป็นระยะเวลา 1 ปี
  2. 2.               

การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แบบไม่ควบคุมตัว (กรณีผู้ติด)

วิธีการ หน่วยปฏิบัติ ระยะเวลา
ผู้ป่วยใน : ชุมชนบำบัด

                  FAST MODEL

                   ฯลฯ

ผู้ป่วยนอก : จิตสังคมบำบัด เมทาโดน ฯลฯ

๑. สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

๒. สถานฟื้นฟูสมรรถภาพ (รัฐ)

๓. ชุมชน / วัด

๔. ศตส.จ.

 

๔-๖ เดือน

 

การจัดกิจกรรมปรับตัวกลับสู่สังคม ( 2 เดือน)

วิธีการ : การจัดกิจกรรมความมั่นคงในการดำเนินชีวิต การส่งเสริมอาชีพ การทำงานบริการสังคม และการสุ่มเก็บปัสสาวะ

การติดตามผล 1 ปี

ผู้ประสานพลังแผ่นดิน สาธารณสุข และ อ.ส.ค.

2. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แบบไม่ควบคุมตัว (กรณีผู้เสพ) การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบไม่ควบคุมตัว (กรณีผู้เสพ) มีวิธีการดำเนินการโดยใช้โปรแกรมของสำนักงานคุมประพฤติ เป็นระยะเวลา 6 เดือน และเมื่อผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย คือ การติดตามผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด โดยผู้ประสานพลังแผ่นดิน สาธารณสุข หรือ อาสาสมัครคุมประพฤติ เป็นระยะเวลา 1 ปี

วิธีการ หน่วยปฏิบัติ ระยะเวลา
๑. โปรแกรมของสำนักงานคุมประพฤติ

๒. ค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

๓. การฟื้นฟูฯ ในชุมชน

๔. การจัดกิจกรรมความมั่นคงใน

การดำเนินชีวิต

๕. การทำงานบริการสังคมหรืออื่นๆ

๑. สำนักงานคุมประพฤติ

๒. ชุมชน/วัด

๓. ศตส.จ.

 

๑-๖ เดือน

 

การติดตามผล 1 ปี

ผู้ประสานพลังแผ่นดิน สาธารณสุข และ อ.ส.ค.

 

0

อารมณ์และความเครียด

อารมณ์และความเครียด

   อารมณ์  หมายถึง   กระบวนของความรู้สึกตอบสนองขั้นต้นของจิตต่อสิ่งเร้าที่กระตุ้นทางร่างกาย ได้แก่  ความโกรธ   ความกลัว  ความวิตกังวล  ความคับข้องใจ  ความรัก  ความชอบ  ความเกลียด  พอใจ  เสียใจ  เป็นต้น

   ความเครียด  หมายถึง  เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อจิตใจถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าที่ทำให้ตื่นเต้นหรือวิตกกังวล ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติทางร่างกาย หากความเครียดนั้นมีมากและคงอยู่เป็นเวลานาน

ลักษณะอารมณ์และความเครียดของวัยรุ่น
      วัยรุ่นอารมณ์จะแปรปรวนมาก  เนื่องจากวัยรุ่นมักจะมีอารมณ์รุนแรง  มีความเชื่อมั่นในตนเอง  และอาจมีความคิดขัดแย้งต่อผู้ใหญ่หรือบุคคลอื่นได้  โดยอาจมีอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง   ดังนั้น  การรู้จักปรับตนเอง การเผชิญปัญหากับความเครียดจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งตั้งแต่วัยเด็ก  เพื่อเป็นการ ระงับ  บรรเทา  หรือขจัดความเครียด

 สาเหตุของความเครียด
    1) ภาวะด้านร่างกาย  เช่น  สุขภาพอ่อนแอ  ความเจ็บป่วย  ความพิการ
       2) ภาวะด้านจิตใจ  เช่น  การสูญเสียสิ่งที่มีค่า  สิ่งที่รัก  ความคับข้องใจ
       3) ภาวะด้านสิ่งแวดล้อม  เช่น  สภาพอุณหภูมิ  เสียงดังมากเกินไป  การสอบ

 ลักษณะที่บ่งบอกเมื่อเกิดความเครียด 
   
1) ด้านร่างกาย  เช่น  หายใจไม่ออก  เหนื่อยง่าย  นอนไม่หลับ 
   2
) ด้านจิตใจ  เช่น  อาการหงุดหงิด  รำคาญ  เบื่อหน่าย  ท้อถอย

 

 

 

ผลของอารมณ์และความเครียดต่อสุขภาพ
         ตามปกติความเครียดภายในจิตใจจะส่งผลให้เกิดอาการทางร่างกาย  ที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน  คือ  ปวดศีรษะ  นอนไม่หลับ  เหนื่อยง่าย  เป็นต้น  หากมีอาการผิดปกติดังกล่าว  ควรหาสาเหตุและรีบแก้ไขทันที    หากปล่อยให้ตนเองมีความเครียดสะสมไว้เป็นเวลานาน  โดยไม่ได้ผ่อนคลายจะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยที่รุนแรงได้

 

ลักษณะอาการเบื้องตนของผู้มีปัญหาสุขภาพจิต
          ผู้มี “ สุขภาพจิต” หรือ “สุขภาพจิตปกติ”  จะมีลักษณะสำคัญ  ดังนี้
          1.  รู้จักและเข้าใจตนเอง
          2.  รู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น
          3.  สามารถเผชิญปัญหาและความเป็นจริงของชีวิตได้ดี
          ในขณะเดียวกัน   หากบุคคลใดมีอาการพฤติกรรม  หรือมีความรู้สึกตรงข้ามกับผู้ที่มีสุขภาพจิตดังกล่าวไปแล้วข้างตน  ก็ย่อมแสดงให้เห็นว่าบุคคลนั้นมีภาวะความเครียด

 

วิธีปฏิบัติตนเพื่อจัดการกับอารมณ์และความเครียด
            1. การพักผ่อน   การพักผ่อนเปรียบเสมือนการทำให้สมองของเราได้ผ่อนคลาย  ถือว่าเป็นการฝึกจิตอย่างหนึ่งจะทำให้จิตใจสดชื่น   เกิดความสบายใจ   คลายความวิตกกังล
                          2. การนอนหลับ   การนอนหลับมีความสำคัญและจำเป็นต่อสุขภาพ  โดยผู้ใหญ่ต้องการเวลานอนหลับประมาณ 7-8 ชั่วโมง   สำหรับเด็กนั้นต้องการเวลานอนประมาณ 8-10  ชั่วโมง

 
                                1) การประเมินพฤติกรรมในการนอนหลับ
        ถ้าง่วงนอนบ่อยๆแม้ว่าจะนอนมากเท่าไรก็ยังง่วง  ควรไปพบแพทย์  เพราะอาจเป็นอาการที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพทางกายหรือจิตใจได้
                               
2)  ข้อแนะนำเพื่อการนอนหลับที่ดี
                                     
1. ก่อนเข้านอนควรทำจิตใจให้สงบ  และควรเข้านอนให้เป็นเวลา
                                      2. เข้านอนเพื่อการนอนหลับโดยตรง  ไม่ใช่เพื่ออ่านหนังสือ  เพื่อคิดเกี่ยวกับสิ่งที่กังวลอยู่  และห้องนอนควรจะเงียบปราศจากเสียงรบกวน
                                      3. หลีกเลี่ยงสารหรือสิ่งกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว
                                      4.การดื่มนม 1 แก้ว ก่อนเข้านอนจะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
                                      5.ก่อนจะเข้านอนควรจะทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง
               3. การออกกำลังกาย    การออกกำลังกายเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  ช่วยลดความเครียด  และส่งเสริมความสามารถทางด้านสติปัญญาด้วย
               4.  การผ่อนคลาย
                    การผ่อนคลาย  หมายถึง  การหยุดพักชั่วคราวจากกิจกรรมประจำวันที่ปฏิบัติอยู่
                                      1) หลักการผ่อนคลาย  คือ  การพยายามที่จะให้กลุ่มกล้ามเนื้อบางกลุ่มของร่างกายตึงและหย่อนอย่างเป็นระบบ
                                     
2) การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
                                            2.1) การเตรียมตัว
  ให้นอนหงายหรือนั่งโดยมีบรรยากาศของสิ่งแวดล้อม
                                                  1) เงียบ และไม่ถูกรบกวน
                                                  2) พยายามฝึกปฏิบัติวันละ  2 – 3 ครั้ง
                                                  3)ให้แน่ใจว่าอยู่ในท่าที่สบาย
                                                  4) ให้ความคิดต่างๆ อยู่ในสภาวะของการผ่อนคลาย
                                           
2.2) การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 
                         
1) การทำให้กล้ามเนื้อตึงโดยการบีบหรือเพิ่มความตึงไปสู่บริเวณกล้ามเนื้อ
                                                   2) การผ่อนคลายกล้ามเนื้อโดยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงนั้นอย่างรวดเร็ว
                                            2.3) การหายใจ  ควรทำให้การหายใจเป็นไปโดยอัตโนมัติ 

 

การฝึกปฏิบัติการผ่อนคลาย  คือ  กระบวนการหรือขั้นตอนของการฝึก ปฏิบัติการผ่อนคลาย
            1. นั่งบนเก้าอี้สบายหรืออยู่ในท่าที่รู้สึกสบาย  และหลับตา
            2. ระบายความเครียดให้เกิดขึ้นที่มือขวา
            3. ให้กล้ามเนื้อเกิดความตึงเป็นเวลาประมาณ 5- 7 วินาที 
             4. ลดความตึงของกล้ามเนื้อขึ้นลงเร็วๆ 
             5. ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณแขนซ้ายตึงขึ้น
              6. ให้ความตึงของแขนซ้ายคงอยู่ประมาณ 5 – 7 วินาที
              7. ลดความตึงของกล้ามเนื้อแขนซ้ายลง   และทำกิจกรรมข้อ 5 – 7 ซ้ำอีก
              8. ทำให้ความตึงเกิดขึ้นที่บริเวณกล้ามเนื้อส่วนหน้าอก  หลัง  และไหล่
              9. ให้ความตึงของหน้าอกคงอยู่ประมาณ 5 – 7 วินาที
              10. ค่อยๆ ผ่อนคลายส่วนกล้ามเนื้อที่ตึงนั้น

 

หลักในการปฎิบัติเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
       1. ใช้ห้องหรือบริเวณที่รู้สึกสบายและเงียบสงบ
               2. นั่งหรือนอน  จากนั้นหายใจเข้าให้ลึกๆ  และหายใจออกอย่างเป็นระบบ
               3. ให้ความตึงของกล้ามเนื้อเกิดบริเวณแขน ขา
               4. ปฏิบัติการทำให้กล้ามเนื้อตึงและหย่อน
               5. มุ่งความสนใจไปที่ความรู้สึกของตน
               6. หายใจออกในช่วงผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
               7. ฝึกปฏิบัติกับกล้ามเนื้อกลุ่มต่างๆ เรียงตามลำดับ
               8. ประเมินสภาวะของร่างกาย
 การหัวเราะเพื่อคลายเครียด

               
1. หัวเราะแบบธรรมชาติ  เกิดจากการกระตุ้นให้หัวเราะ
               2. หัวเราะแบบบำบัด  เป็นการหัวเราะแบบรู้ตัว

 

 การฝึกบริหารจิต      
        1. กำหนดให้ร่างกายอยู่นิ่งๆในท่าใดก็ได้
                2. หลับตาพอสบาย
                3. ตั้งศูนย์กลางของจิตใจไว้ที่ลมหายใจโดยการจินตนาการ
                4. ให้ทำซ้ำตามที่กล่าวในข้อ 3 ไปเรื่อย

อาการและการแสดงออกของคนที่มีความเครียด

การแสดงออกทางร่างกาย
การแสดงออกทางจิตใจ
การแสดงออกทางพฤติกรรม
– ปวดกล้ามเนื้อ
– มึนงง
– แน่นท้อง ท้องผูก
– นอนหลับยาก
– ใจเต้นเร็ว
– มือเย็น อ่อนเพลีย
– สมาธิสั้น ขี้ลืม
– ความจำไม่ดี
– โกรธง่าย
– ซึมเศร้า
– หงุดหงิด
– มองโลกในแง่ร้าย
– วิตกกังวลเสมอ
– ไม่มีความคิด
– เบื่ออาหาร
– ตัดสินใจไม่ค่อยลง ลังเล
 
– โผงผาง
– แยกตัวจากคนอื่น
– รับประทานเก่ง บ่อย
– เปลี่ยนงานบ่อย
– ขว้างปาสิ่งของ
– ชอบกัดเล็บ
– ดึงผมตัวเอง
– ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
– ทำอะไรผิดพลาดเสมอ

 

 

  

0

การพัฒนาสมรรถภาพทางกาย

การพัฒนาสมรรถภาพทางกาย

               สมรรถภาพทางกาย  (Physical  Fitness)   หมายถึง  ความสามารถของระบบต่างๆของร่างกายในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บุคคลที่สมรรถภาพทางกายดีนั้นจะสามารถประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างกระฉับกระเฉง โดยไม่เหนื่อยล้าจนเกินไปและยังมีพลังงานสำรองมากพอสำหรับปฏิบัติกิจกรรมนันทนาการหรือใช้ในกรณีฉุกเฉิน

สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าบุคคลนั้นมีสมรรถภาพทางกายที่ดี คือ ผลการปฏิบัติงานที่แสดงเห็นถึง
         1. ความเร็ว ( Speed ) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อในการทำงานบางส่วนหรือทั้งหมดของร่างกายเคลื่อนที่ไปสู่เป้าหมายโดยใช้เวลาน้อยที่สุด เช่น วิ่ง 50 เมตร, วิ่ง 100 เมตร, ว่ายน้ำ 50 เมตร, ว่ายน้ำ 100 เมตร
         2. ความแข็งแรง ( Strength ) หมายถึง ความสามารถในการหดตัวของกล้ามเนื้อเพื่อต้านแรงที่จะมากระทำ เช่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนในการหดตัวงอข้อศอก
         3. ความคล่องแคล่วว่องไว ( Agility ) หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงท่าทางของร่างกายตามต้องการได้อย่างทันทีทันใด เช่น การเบี่ยงตัวหลบลูกบาสเกตบอล
         4. ความอ่อนตัว ( Flexibility ) หมายถึง ความสามารถในการเหยียดและหดตัวของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อต่าง ๆ ในปริมาณมุมที่มากกว่าปกติ เช่น การก้มและใช้ปลายนิ้วแตะพื้นเป็นความสามารถของข้อต่อที่สะโพก กล้ามเนื้อขาและหลัง
         5. กำลังหรือพลังของกล้ามเนื้อ ( Power ) หมายถึง ความสามารถในการทำงานอย่างทันทีทันใดของกล้ามเนื้อด้วยความพยายามสูงสุด เช่น การยกน้ำหนัก, การขว้างจักร
         6. ความสมดุล ( Balance ) หมายถึง ความสามารถในการควบคุมท่าทางของร่างกายให้อยู่ในลักษณะที่ต้องการได้ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะเคลื่อนที่หรืออยู่กับที่ เช่น การทรงตัวบนราวไม้ของนักยิมนาสติก
         7. ความสัมพันธ์ของประสาทและกล้ามเนื้อ ( Neuromuscular co – ordination ) หมายถึง การควบคุมให้ร่างกายทำงานตอบสนองการสั่งของระบบประสาทอย่างมีประสิทธิ เช่นความสัมพันธ์ของการได้ยินคำสั่งและกล้ามเนื้อหดตัวเพื่อเคลื่อนที่
         8. ความอดทนหรือความทนทาน ( Endurance ) หมายถึง ความสามารถในการกระทำกิจกรรมซ้ำ ๆ กันนาน ๆ ของกล้ามเนื้อโดยไม่เกิดความเมื่อยล้าหรือเหนื่อยช้า
         9. ปฏิกิริยาตอบสนอง ( Response time ) หมายถึง ความสามารถในการประสานงานระหว่างประสาทรับรู้ประสาทสั่งงานและกล้ามเนื้อที่ปฏิบัติงาน

 

0

สุขภาพกายสุขภาพจิต

สุขภาพกายและสุขภาพจิต

สุขภาพ  หมายถึง  ภาวะความสมดุลตามธรรมชาติระหว่างสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกตัวบุคคล ตลอดจนความผาสุกที่บุคคลนั้นได้รับจากการมีสภาวะที่สมบูรณ์ทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  สังคม  และจิตวิญญาณ

  สุขภาพจิต คือ สภาพชีวิตที่เป็นสุข มีอารมณ์มั่นคงสามารถปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีสมรรถภาพในการทำงาน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความพอใจ สุขภาพไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับทุกชีวิตในการดำรงอยู่อย่างปกติ เป้าหมายของการเรียนรู้ วิชาสุขภาพจิต ก็คือ การทำให้ชีวิตมีความสุข ความพอใจ ความสมหวัง ทั้งของตนเองและของผู้อื่น

 

  ความสำคัญของสุขภาพจิต
“สุขภาพจิต” มีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์หลายด้าน ดังนี้
1. ด้านการศึกษา ผู้ที่สุขภาพจิตดีย่อมมีจิตใจปลอดโปร่งสามารถศึกษาได้สำเร็จ
2. ด้านอาชีพการงาน ผู้ที่สุขภาพจิตดีย่อมมีกำลังใจต่อสู้อุปสรรคไม่ท้อแท้ เบื่อหน่าย ทำงานก็บรรลุผลสำเร็จ
3. ด้านชีวิตครอบครัว คนในครอบครัวสุขภาพจิตดี ครอบครัวก็สงบสุข
4. ด้านเพื่อนร่วมงาน ผู้ที่สุขภาพจิตดีย่อมไม่เป็นที่รังเกียจปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี
5. ด้านสุขภาพร่างกาย ถ้าสุขภาพจิตดีร่างกายก็สดชื่น หน้าตายิ้มแย้มสมองแจ่มใส เป็นที่สบายใจแก่ผู้พบเห็น อยากคบค้าสมาคมด้วย

 

สุขภาพกาย
สุขภาพจิต สุขภาพกาย ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี ประโยชน์ของการมีสุขภาพจิตดี สุขภาพกายและสุขภาพจิตของคนย่อมมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น เด็กที่มีความบกพร่องทางกาย เช่น หูตึง หรือสายตาสั้น อาจได้รับความลำบาก ในการปรับตัว เด็กที่มีโรคประจำตัวบางอย่างมักมีอารมณ์หงุดหงิด ทำตัวให้เข้า กับเพื่อนฝูงได้ยาก เด็กประเภทนี้จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ มิฉะนั้นสุขภาพจิตของเด็กก็มีหวัง  เสื่อมทรามลงไปได้มาก ๆ คนที่ขาดสุขภาพจิตมักมีสุขภาพกายเสื่อมลงไปด้วย เด็กที่เสียสุขภาพจิต ถ้าเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาก็มักเจ็บป่วยมาก กล่าวคือ เด็กจะเสียกำลังใจและตีโพย ตีพายไปเกินกว่าเหตุ อาการเจ็บป่วยธรรมดาอาจเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น กำลังใจของคนไข้เป็นส่วนประกอบอันสำคัญในการที่จะรักษาโรคให้ได้ผล ถ้าคนไข้เป็นคนขาดสุขภาพจิตแล้วก็จะทำให้การรักษาโรคลำบากยิ่งขึ้น ร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดถ้าร่างกาย เกิดผิดปกติก็จะทำให้จิตใจผิดปกติไปไม่มากก็น้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคล และสิ่งแวดล้อมด้วย ในทางกลับกัน ถ้าสุขภาพจิตไม่ดีก็จะมีผลให้ สุขภาพกายเปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้เกิดโรคทางกายได้ ผู้ที่มีอารมณ์หวั่นไหว วิตกกังวล หรือเครียด อาจจะมีอาการท้องเดิน เมื่อเกิดความกลัว
ก็อาจจะมีอาการปวดศีรษะ หรือเกิดอารมณ์ทางกายอื่น ๆ เมื่อเราตื่นเต้นตกใจก็จะทำให้การหายใจเร็วขึ้น ตัวสั่น เป็นต้น ดังนั้น การที่คนเราจะมีร่างกายที่สมบูรณ์ได้ก็ควรจะต้องมีอารมณ์อยู่ในภาวะที่สมบูรณ์ด้วย จากความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดของร่างกายและจิตใจนี้ จึงมีผู้กล่าวว่า จิตใจที่แจ่มใสย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์

 

ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี

 

ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีมีลักษณะหลายประการ ดังนี้
1 . เป็นผู้ที่มีความสามารถและความเต็มใจที่จะรับผิดชอบอย่าง เหมาะสมกับระดับอายุ
2. เป็นผู้ที่มีความพอใจในความสำเร็จจากการได้เข้าร่วม กิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม โดยไม่คำนึงว่าการเข้าร่วมกิจกรรมนั้น จะมีการถกเถียงกันมาก่อนหรือไม่ก็ตาม
3. เป็นผู้เต็มใจที่จะทำงานและรับผิดชอบอย่างเหมาะสมกับบทบาท หรือตำแหน่งในชีวิตของเขา แม้ว่าจะทำไปเพื่อต้องการตำแหน่งก็ตาม
4. เมื่อเผชิญกับปัญหาที่จะต้องแก้ไข เขาก็ไม่หาทางหลบเลี่ยง
5. จะรู้สึกสนุกต่อการขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางต่อความสุขหรือ พัฒนาการ หลังจากที่เขาค้นพบด้วยตนเองว่า อุปสรรคนั้นเป็นความจริง ไม่ใช่อุปสรรคในจินตนาการ
6. เป็นผู้ที่สามารถตัดสินใจด้วยความกังวลน้อยที่สุด มีความรู้สึกขัดแย้งในใจและหลบหลีกปัญหาน้อยที่สุด
7. เป็นผู้ที่สามารถอดได้ รอได้ จนกว่าจะพบสิ่งใหม่ หรือ ทางเลือกใหม่ที่มีความสำคัญหรือดีกว่า
8. เป็นผู้ที่ประสบผลสำเร็จด้วยความสามารถที่แท้จริง ไม่ใช่ความสามารถในความคิดฝัน
9. เป็นผู้ที่คิดก่อนทำ หรือมีโครงการแน่นอนก่อนที่จะปฏิบัติ ไม่มีโครงการที่ถ่วงหรือหลีกเลี่ยงการกระทำต่าง ๆ
10. เป็นผู้ที่เรียนรู้จากความล้มเหลวของตนเองแทนที่จะหา ข้อแก้ตัวด้วยการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง หรือโยนความผิดให้แก่คนอื่น
11. เมื่อประสบผลสำเร็จ ก็ไม่ชอบคุยโอ้อวดจนเกินความเป็นจริง
12. เป็นผู้ที่ปฏิบัติตนได้สมบทบาท รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไรเมื่อถึงเวลา ทำงาน หรือจะปฏิบัติอย่างไรเมื่อถึงเวลาเล่น
13. เป็นผู้ที่สามารถจะปฏิเสธต่อการเข้าร่วมกิจกรรมที่ใช้เวลา มากเกินไปหรือกิจกรรมที่สวนทางกับที่เขาสนใจแม้ว่ากิจกรรมนั้นจะทำให้ เขาพอใจได้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งก็ตาม
14. เป็นผู้ที่สามารถตอบรับที่จะเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ สำหรับเขา แม้ว่ากิจกรรมนั้นจะไม่ทำให้เขาพึงพอใจก็ตาม
15. เป็นผู้ที่จะแสดงความโกรธออกมาโดยตรง เมื่อเขาได้รับ ความเสียหายหรือถูกรังแก และจะแสดงออกเพื่อป้องกันความถูกต้อง ของเขาด้วยเหตุด้วยผลการแสดงออกนี้จะมีความรุนแรงอย่างเหมาะสม กับปริมาณความเสียหายที่เขาได้รับ
16. เป็นผู้ที่สามารถแสดงความพอใจออกมาโดยตรงและจะแสดงออก อย่างเหมาะสมกับปริมาณและชนิดของสิ่งที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ
17. เป็นผู้ที่สามารถอดทน หรืออดกลั้นต่อความผิดหวัง และ ภาวะความคับข้องใจทางอารมณ์ได้ดี
18. เป็นผู้ที่มีลักษณะนิสัยและเจตคติที่ก่อรูปขึ้นอย่างเป็นระเบียบ เมื่อเผชิญกับสิ่งยุ่งยากต่าง ๆ ก็สามารถจะประนีประนอมนิสัยและเจตคติ เข้ากับสถานการณ์ที่ยุ่งยากต่าง ๆ ได้
19. เป็นผู้ที่สามารถระดมพลังงานที่มีอยู่ในตัวออกมาใช้ได้อย่างทันที และพร้อมเพรียง และสามารถรวมพลังงานนั้นสู่เป้าอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความสำเร็จของเขา

 

20.เป็นผู้ที่ไม่พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงความจริงซึ่งชีวิตของเขา จะต้องดิ้นรนต่อสู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่เขาจะยอมรับว่าบุคคลจะต้องต่อสู้ กับตนเอง ฉะนั้นเขาจะต้องมีความเข้มแข็งให้มากที่สุด และใช้วิจารณญาณ ที่ดีที่สุด เพื่อจะผละจากคลื่นอุปสรรคภายนอก

ประโยชน์ของการมีสุขภาพจิตดี
สุขภาพจิต สุขภาพกาย ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี ประโยชน์ของการมีสุขภาพจิตดี

1. ช่วยให้สามารถแก้ไขปรับปรุงการดำรงชีวิตให้อยู่ในสังคมได้อย่างราบรื่น เหมาะสม มีความสุข รู้จักจุดอ่อน จุดเด่นของตนเอง
2. ช่วยปรับปรุง แก้ไข และป้องกันความคับข้องใจ
3. ช่วยให้เกิดความเข้าใจตนเองและผู้อื่น รู้จิตใจ ความรู้สึก อารมณ์ของคนอื่นได้
4. ช่วยให้สามารถพัฒนาอาชีพ การงาน และครอบครัว
 คุณค่าและความสำคัญของสุขภาพกายและสุขภาพจิต

ใครหลายคนคงเคยได้ยินพุทธสุภาษิตที่กล่าวว่าอโรคยาปรมาลาภา ซึ่งหมายถึงความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ คำกล่าวนี้เป็นความจริงที่ใครๆก็ไม่สามารถปฏิเสธได้
สุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิตมีความสัมพันธ์ต่อกันโดยจะเชื่อมโยงไปสู่สุขภาพทางจิตวิญญาณ
สุขภาพเป็นองค์รวมของร่างกายจิตใจและจิตวิญญาณการที่คนเรามีสุขภาพที่ดีสมบูรณ์ไม่ใช่มีเพียงองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้นแต่จะมองในลักษณะขององค์รวมสุขภาพทั้ง 3 ประการจะส่งผลทำให้มีสุขภาพดีดังนี้

1. ถ้ากายนำจิต จะทำให้กายดี จิตก็จะดีด้วย เช่น ถ้าเราหิวแล้วเรากินข้าวเมื่ออิ่มแล้วอารมณ์ก็จะดีสามารถคิดและมีแรงทำงานได้

2. ถ้าจิตนำกาย จะทำให้จิตดีและนำกายไปดี เช่น ถ้าเรามีอารมณ์ที่ดี ไม่หงุดหงิดโมโหง่าย สภาพร่างกายเราก็จะไม่รู้สึกเจ็บป่วย

3. ถ้าจิตวิญญาณนำกายและจิต จะทำให้กายและจิตดี พร้อมที่จะเผชิญปัญหาและแก้ไขอุปสรรคต่างๆได้โดยสติเพื่อให้เกิดปัญญาในตนเอง

องค์ประกอบทั้ง 3 มีความสัมพันธ์กันโดยมีคุณค่าและความสำคัญ ดังนี้    

1. เป็นองค์รวมที่สร้างความสัมพันธ์ด้านสุขภาพ

     1.1 ช่วยสร้างและเพิ่มพลัง การที่เรารู้จักออกกำลังกายและสร้างเสริมสมรรถภาพทางร่ากายเป็นประจำจะส่งผลต่อสุขภาพทำให้ร่างกายแข็งแรง ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในทำงานร่างกายทำงานได้ดีขึ้น

     1.2 ช่วยรักษาอารมณ์ การออกกำลังกายที่ดีและถูกต้องจะช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น ช่วยลดภาวะความเครียด ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า โดยการช่วยระบายอารมณ์ต่างๆให้บรรเทาหรือทุเลาลงได้ ช่วยให้มีอารมณ์เบิกบานแจ่มใสช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดจากสภาวะแวดล้อมต่างๆ

     1.3 ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับผู้อื่น สร้างสังคมที่ดีระหว่างตนเอง ครอบครัว เพื่อน และบุคคลอื่นๆ สร้างมิตรภาพที่ดีต่อกันมีโอกาสพบปะและรู้จักผู้อื่น

    1.4 ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี เนื่องจากการออกกำลังกายเป็นการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายจะทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ตื่นตัว แคล่วคล่องว่องไว สามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้ การที่ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดฟินจะทำให้เรารู้สึกสดชื่น มีความสุขมีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใสตลอดจนมีทักษะที่ดีต่อตนเองเป็นพื้นฐานของการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีอันเป็นผลต่อการสร้างระบบภูมิคุ้มกันและความต้านทานโรคของร่างกาย

2. เป็นอาหารหล่อเลี้ยงสุขภาพ

     2.1 อาหารทางกาย สิ่งที่จำเป็นตามความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด เช่น ปัจจัย 4 ด้าน อาหาร ที่อยู่ เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค และการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น การพักผ่อน การออกกำลังกาย กิจกรรมนันทนาการ การป้องกันอุบัติเหตุ ฯลฯ

     2.2 อาหารทางจิต สิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตทางด้านจิตใจ การมีความสุข รื่นเริง การไม่เจ็บป่วย ความสงบสุข การฝึกปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอนทางศาสนา

     2.3 อาหารทางจิตวิญญาณ สิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตด้านศีลธรรม คุณธรรม จิตวิญญาณเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุด เช่น การเสียสละ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี การมีสติ การมีความเมตตากรุณาซึ่งเป็นการเกิดความสุขอย่างแท้จริง

องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน มีความสำคัญและมีคุณค่าต่อสุขภาพทางกายและทางจิตของคนเรา ดังคำกล่าวที่ว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว คือ สภาพจิตใจย่อมอยู่เหนือสภาพร่างกาย ถ้าเรามีสภาพจิตใจที่ดี มั่นคง ย่อมทำให้สุขภาพทางกายแข็งแรงไปด้วยดี

 

 

 

0

เพศกับวัยรุ่น

เพศกับวัยรุ่น

1.   พัฒนาการและการปรับตัวทางเพศของวัยรุ่น
      เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น   ทั้งเพศชายและเพศหญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายอย่างรวดเร็วมีน้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้น  สัดส่วนของอวัยวะในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงไป  เช่น  แขนและขามีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  มือและเท้ามีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่าอวัยวะอื่นๆจึงดูเหมือนว่ามือและเท้าใหญ่ผิดปกติ  ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์  เช่น  มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย  มีความเข้าใจและความรู้สึกนับถือตนเองมากขึ้น  เป็นต้น
                   1.1   พัฒนาการทางเพศของวัยรุ่น
                   นอกจากพัฒนาการด้านร่างกาย  จิตใจ  และอารมณ์แล้ว  ในช่วงวัยรุ่นยังมีการพัฒนาการทางเพศซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและหน้าที่ของอวัยวะเพศ  ทำให้มีลักษณะทางเพศที่แสดงถึงความพร้อมของอวัยวะสืบพันธุ์  (Reproductive Organs)  ที่จะทำงานเต็มที่  เป็นผลมาจากอิทธิพลของฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อทั้ง  4  ต่อม  ได้แก่  ต่อมใต้สมอง  ต่อมไทรอยด์  ต่อมหมวกไต  และต่อมเพศ  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายซึ่งเรียกว่า “ลักษณะประจำตัวทางเพศขั้นที่สอง  (Secondary  Sex  Characteristic)” ดังต่อไปนี้
วัยรุ่นชาย
                   1.  รูปร่างเปลี่ยนไป กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น พละกำลังมากขึ้น
                   2.  มีขนขึ้นตามร่างกาย แขนขา รักแร้ รอบอวัยวะเพศ และโคนขาด้านใน ตลอดจนมีหนวดเคราขึ้นตามใบหน้า และรอบริมฝีปาก
                   3.  เสียงเปลี่ยนจากเดิม เป็นเสียงห้าว แปร่งขึ้น
                   4.  ขนาดลูกอัญฑะโตขึ้นเมื่ออายุ 10-12 ปี ตามด้วยการเจริญเติบโตขององคชาต
                   5.  องคชาตมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า มีการแข็งตัว เมื่อมีความคิดเกี่ยวกับเรื่องเพศหรือจากการสัมผัส ทั้งนี้เป็นผลจากการขยายตัวของเส้นเลือด มีเลือดมาคั่งอยู่ จึงมีการขยายขนาดและแข็งตัวขึ้น
                   6.  การแข็งตัวขององคชาตและการหลั่งน้ำกามในเวลากลางคืนที่เรียกว่า “ฝันเปียก” เป็นลักษณะที่แสดงว่าร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์เริ่มเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ เป็นการผ่อนคลายความกดดันทางเพศ และไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
วัยรุ่นหญิง
                   1.  เสียงทุ้ม
                   2.  ทรวกอกขยาย
                   3.  สะโพกผายออก
                   4.  มีประจำเดือนครั้งแรกอายุประมาณ 12 – 13  ปี
                   5.  ปกติในรอบ 28 วัน  จะมีไข่สุก 1 ใบ
                   6.  ประจำเดือนแต่ละครั้งไม่เท่ากันอาจช้าหรือเร็วขึ้นเดือนล่ะ  3 – 5  วัน
                   1.2  การปรับตัวทางเพศของวัยรุ่น
                         พัฒนาการทางเพศของวัยรุ่น  รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย  ดังนั้นวัยรุ่นจึงเป็นวัยที่จะต้องมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว  ดังนี้
                         1.   ให้ความสนใจต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและทางเพศของตนเอง  
                         2.  รู้จักปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม
                         3.  รู้จักการปรับตัวเข้าเพื่อนเพศเดียวกันและเพื่อนต่างเพศ
                         4.  ถ้ามีปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย  ควรปรึกษาผู้รู้  เช่น พ่อ แม่ ครูอาจารย์ที่นับถือ  เป้นต้น
2.  วัยรุ่นกับเจตคติทางเพศ
                   2.1  ความหมายของเจตคติ
                         หมายถึง  สภาวะทางจิตใจหรือความพร้อมทางจิตใจของบุคคลที่จะปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องต่าง  จะมีแนวโน้มสูงที่จะปฏิบัติต่อสิ่งนั้นตามแนวทางที่เขาเชื่อและรู้สึก
                   2.2  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเจตคติทางเพศของวัยรุ่น
                         1)  ครอบครัว   เป็นสถาบันแรกที่ให้การอบรมเลี้ยงดู   รวมถึงการสอนและปลูกฝังความรู้ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยในการเปลี่ยนแปลงเจตคติทางเพศได้  โดยเฉพาะพ่อแม่ย่อมพร้อมที่จะใก้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ลูกเสมอ
                         2)  เพื่อน   เพื่อนจะมีอิทธิต่อเจตคติทางเพศของวัยรุ่นอย่างมากจึงควรร่วมกันแนะนำให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องตามกรอบวัฒนธรรมไทย
                         3)  วัฒนธรรม   หมายถึง   ผลรวมของความคิด   ความเชื่อ   ค่านิยม   การรับรู้  และปฏิบัติที่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งสังคมหนึ่งๆ  ยึดถือสืบปฏิบัติมาเป็นเวลานาน 
                         4)  สื่อ   มีอิทธิพลอย่างมากต่อการปลูกฝังเจตคติทางเพศ  โดยเฉพาะในกลุ่มของวัยรุ่นที่อยากรู้อยากลองในสิ่งใหม่ๆตัวอย่างสื่อนี้  เช่น  ป้ายโฆษณา  โทรทัศน์  ภาพยนตร์  เป็นต้น
3.  ปัญหาและผลกระทบจากการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน
                   3.1  สถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์สถานการณ์ดังกล่าวที่อาจเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน  เช่น 
                         1.   เจตนาหรือยินยอมได้รับสิ่งกระตุ้นทางเพศ
                         2.  ไปเที่ยวกับเพื่อนสองต่อสอง  (ชายและหญิง)
                         3.  การต้องเข้าไปอยู่ด้วยกันตามลำพังในสถานที่ลับตาคน             
                         4.  การดื่มสุราใช้ยากล่อมประสาท
                         5.  เหตุการณ์พาไป
                   3.2  ปัญหาและผลกระทบ
                         ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่พบในกลุ่มวัยรุ่นไทย  คือ  การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน  อาจจะเกิดโดยที่วัยรุ่นไม่ได้คาดคิด  ไม่ได้ตั้งใจ  เป็นต้น
4.  ทักษะชีวิตในการปกป้องกันตนเองเรื่องเพศ
                   4.1  ทักษะการปฏิเสธ
                         1)  คุณลักษณะของการปฏิเสธ  มีสาระสำคัญดังนี้
                                 1.   การปฏิบัติเป้นสิทธิและความต้องการส่วนบุคคล
                                 2. การปฏิบัติเป็นการแสดงให้เห็นว่า   บุคคลนั้นมีเจตคติหรือความต้องการต่อสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง
2)  หลักการปฏิเสธ  มีสาระสำคัญดังนี้
                    1.   ควรปฏิบัติด้วยคำพูด   น้ำเสียง  เพื่อแสดงความตั้งใจอย่างชัดเจน
                   2.   แสดงพฤติกรรมความรู้สึกควบคู่กับข้ออ้างประกอบเหตุผล
3)  การเลือกใช้ทักษะการปฏิเสธ
                   1.   เมื่อไม่ชอบหรือไม่ต้องการร่วมกิจกรรมต่างๆซึ่งถ้าต้องทำแล้วจะรู้สึกอึดอัดใจข้องใจ
                   2.   เมื่อรู้สึกลังเลใจต่อการเลือกสถานการณ์ใดสถารการณ์
 4.2  ทักษะการต่อรองเพื่อการประนีประนอม
                   1)  คุณลักษณะของการต่อรองเพื่อการประนีประนอม
                         1.1)  เป็นการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
                         1.2)  เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดี
2.   ความสำคัญของทักษะการต่อรองเพื่อการประนีประนอม   ซึ่งมีทักษะการต่อรองมีความสำคัญดังนี้
                   1)   เป็นสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างบุคคล
                   2)  เป็นกระบวนการคิดวิเคราะห์คาดการณ์  โดยใช้กระบวนการบูรณาการทักษะชีวิต
                   3)  เป็นการสร้างวามตระหนักรู้ในตนของบุคคลต่อการรู้จักสิทธิของตน
                   4)  เป็นกระบวนการช่วยพัฒนาการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
                   5)  เป็นการปลูกฝังจิตสำนึกของบุคคลให้รับิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น
3.  การเลือกใช้ทักษะการต่อรองเพื่อการประนีประนอม   โดยมีวิธีการสร้างการต่อรองที่เหมาะสม  ดังนี้
                   1.   ตั้งสติให้ดี  ไม่แสดงความตกใจ  ความเครียด  หรือความหวาดกลัวจนเกินเหตุ
                   2.  รับฟังข้อเสนออย่างตั้งใจ
                   3.   ไม่แสดงการตอบรับหรือปฏิเสธทันที
                   4.   แสดงท่าทางที่เป็นมิตรด้วยการพูดจา
                   5.   แสดงความรู้สึกของตนเองพร้อมประกอบเหตุผลที่สามารถโต้แย้งได้
                   6.   เลือกกิจกรรมอื่นมาทดแทน
                   7.   ผดผ่อนหรือเลี่ยงออกจากสถานการณ์
4.3   ทักษะการตัดสินใจเพื่อหลีกเหลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
                   1)   ความหมายของทักษการตัดสนใจ   หมายถึง   ความสามารถของบุคคลต่อกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล
                   2)   ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ   เกิดจากการตัดสินใจ  ดังนี้
                         2.1)     บุคลิกภาพ
                         2.2)   เป้าหมาย
                         2.3)   ค่านิยม
                         2.4)   ความรู้
4.   กระบวนการตัดสินใจเพื่อหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
                   วัยรุ่นเป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นเรื่องเพศ   และอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์  หรือเกิดโรคเอดส์ได้
5.   การป้องกันตนเองจากปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน   ซึ่งมีวิธีป้องกันตนเองให้หลีกเหลี่ยงจากสถานการณ์เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์  มีดังนี้
                   1)   การปิดกั้นโอกาส
                   2)   การปิดกั้นตนเอง
                   3)   การปิดกั้นอารมณ์
                   4)   การใช้ทักษะชีวิตด้านการปฏิเสธ   การต่อรอง   และการตัดสินใจ
                   5)   การใช้ถุงยางอนามัย
                   6)   ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว

ความเสมอภาคทางเพศ

สังคมยุคโลกาภิวัฒน์ที่ผู้คนดำเนินไปตามแบบวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น ทำให้บทบาทของชายหญิงได้รับการมองว่าต้องมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ซึ่งสังคมไทยก็เปิดกว้างยอมรับค่านิยมแบบสากลนี้
ความสำคัญของความเสมอภาคทางเพศ
                   ในปัจจุบันบทบาททางเพศระหว่างผู้ชายและผู้หญิงในสังคมเปลี่ยนแปลงไปจาก
เดิม โดยเฉพาะในสังคมไทย ซึ่งแต่เดิมนั้นมองบทบาททางเพศของผู้ชายว่าอยู่ในฐานะ    “ ช้างเท้าหน้า ” และมองบทบาททางเพศของผู้หญิงว่าอยู่ในฐานะ “ ช้างเท้าหลัง ” นั่นคือ ให้บทบาทของผู้ชายเป็นผู้นำและบทบาทของผู้หญิงเป็นผู้ตาม
                   อาจกล่าวได้ว่าสังคมไทยแต่เดิมนั้นกำหนดความเสมอภาคทางเพศโดยเฉพาะประ
เด็นในเรื่องของการแสดงออกทางเพศอย่างไม่ค่อยเท่าเทียมกันนัก  เมื่อวัฒนธรรมตะวัน
ตกเข้ามาเผยแพร่ ค่านิยมหลายอย่างของเราก็ได้มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเป็นสากลซึ่งเรื่องความเสมอภาคทางเพศก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีการเรียกร้องให้มีการแก้ไข และก็สามารถดำเนินการปรับปรุงแก้ไขด้านในหลายประเด็น
                   ดังนั้น ความเสมอภาคทางเพศ จึงหมายถึง การที่เพศชายและเพศหญิงมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงบทบาทของตนเองต่อสังคมได้อย่างเท่าเทียมกัน แต่ต้องอยู่ภายในกรอบที่เหมาะสมของวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทย ในปัจจุบันสังคมไทยให้ความ สำคัญกับเรื่อง ความเสมอภาคทางเพศมากขึ้น โดยมองบทบาททางเพศของชายและหญิงว่ามีระดับที่เท่าเทียมกัน ไม่มีการกีดกันทางเพศ
                   ดังนั้น ความสำคัญของความเสมอภาคทางเพศ จึงขึ้นอยู่กับความเข้าใจในบทบาททางเพศและการมีสัมพันธภาพที่เหมาะสมระหว่างชายหญิง โดยวัยรุ่นจะรู้สึกอ่อนไหวกับคำพูดที่เกี่ยวข้องกับบทบาททางเพศของตนเองมากขึ้น
                   โดยวัยรุ่นจะเลียนแบบพฤติกรรมซึ่งเป็นบทบาททางเพศจากบุคคลที่ใกล้ชิดกับตัว เอง กล่าวคือ วัยรุ่นชายจะเลียนแบบจากพ่อ พี่ชาย หรือญาติชายที่ใกล้ชิด ในขณะที่วัยรุ่นหญิงก็จะเลียนแบบจากแม่ พี่สาว หรือญาติสาวที่สนิท
การวางตัวต่อเพศตรงข้าม
                   การวางตัวต่อเพศตรงข้าม หมายถึง การที่เพศชายและเพศหญิงประพฤติปฏิบัติต่อ
กันและกัน เพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างกัน ซึ่งในที่นี้จะขอนำเสนอแนวทางในการวางตัวต่อเพศตรงข้ามในสองสถานภาพ คือ ในฐานะเพื่อนและในฐานะคู่รัก
                   1.  การวางตัวต่อเพศตรงข้ามในฐานะเพื่อน  เมื่อชายหญิงคบกันในฐานะเพื่อน เราควรปฏิบัติตนต่อเพศตรงข้ามทั้งใน ด้านการพูด การแสดงกิริยา และการประ พฤติตัวด้านอื่นๆ ในลักษณะที่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
                   2.  การวางตัวต่อเพศตรงข้ามในฐานะคู่รัก  เมื่อชายหญิงมีความสัมพันธ์กันในฐานะคู่รัก ก็ควรหาโอกาศได้เรียนรู้อุปนิสัย ความต้องการ ค่านิยม และความสนใจของกันและกัน เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างเพศตรงข้ามในฐานะคู่รักได้พัฒนาไปสู่ฐานะคู่สมรสอนึ่ง ในวัยหนุ่มสาว เพศชายและเพศหญิงจะมีแรงขับทางเพศมาก ซึ่งเป็น ไปตามธรรมชาติความใกล้ชิดกันมากเกินไป อาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรได้
ปัญหาทางเพศ
                   ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของหลายๆคนก็คือปัญหาทางเพศซึ่งมีอยู่หลายลัษณะไม่ว่าจะเป็นความสับสนต่างๆ การมีความรักใคร่ชอบพอคู่รักที่เป็นเพศเดียวกับตน เป็นต้น
                   1.   ลักษณะปัญหาทางเพศ
                         สถานภาพทางเพศเป็นสิ่งที่ติดตัวทุกคนมาตั้งแต่กำเนิด สถานภาพทางเพศก็อาจจะ
มิใช่ปัจจัยกำหนดความเป็นชายเป็นหญิงได้อย่างแท้จริงทั้งหมด เนื่องจากบุคคลบางกลุ่มอาจเกิดการเบี่ยงเบนทางเพศ ซึ่งสามารถจำแนกลักษณะปัญหาทางเพศได้ ดังนี้
                         1.  ความสับสนในความเป็นชายหญิง  จะเริ่มต้นในวัยเด็ก โดยเด็กผู้ชายอายุ 3-6 ปี
บางคนชอบเล่นตุ๊กตา ชอบแสดงท่าทางคล้ายผู้หญิง แต่พออายุ 12-13 ปี ความรู้สึกและการแสดงออกอย่างนี้อาจหายไปเลย
                         2.  ความเบี่ยงเบนทางเพศ ( Sexual Deviations ) คือ กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมทาง
เพศผิดปกติ ซึ่งแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้
                                2.1 ) ปฏิเสธเพศ ( Transexual ) คือ ผู้ที่ไม่พอใจและไม่ยอมรับในเพศที่แท้จริงที่มี
มากำเนิด รวมทั้งมีความเชื่อว่าเพศที่ปรากฏทางร่างกายของตนไม่ถูกต้อง ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเพศชายโดยชายเหล่านี้จะมีลักษณะท่าทางการแสดงออกเป็นเพศหญิง
                                2.2) รักร่วมเพศ ( Homosexual ) คือ ผู้ที่มีความพึงพอใจที่จะมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน ได้แก่ ชายรักชาย และหญิงรักหญิง
                   1) ชายรักชาย หรือเกย์ ( Gay ) แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เกย์คิง หมายถึง ผู้ที่แสดงบทบาททางเพศเป็นชายหรือฝ่ายกระทำเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ เกย์ควีน หมายถึง ผู้ที่แสดงบทบาททางเพศเป็นหญิงหรือฝ่ายถูกกระทำเมื่อมีเพศสัมพันธ์
                   2) หญิงรักหญิง หรือเลสเบี้ยน ( Lesbian ) คนไทยมีคำเรียกดั้งเดิมว่า อัญจารี แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ทอม หมายถึง การแสดงออกภายนอกมีลักษณะภายนอกเป็นชาย ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ ดี้ หมายถึง การแสดงออกภายนอกจะมีลักษณะเป็นหญิง
                                2.3) รักสองเพศ ( Bisexuality ) หมายถึง ผู้ที่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ทั้งกับเพศชายและเพศหญิง ภาษาชาวบ้านนิยมเรียกว่า เสือไบ หรือพวกกระแสสลับ
แนวทางการแก้ไขปัญหาทางเพศ
                   เพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมทางเพศที่ถูกต้อง พ่อแม่ ผู้ปกครอง จึงควรให้การดูแลเด็กดังนี้
                         1.  พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก เพราะหากพ่อแม่แสดงบทบาททางเพศไม่
เหมาะสม จะทำให้ลูกเกิดความเบี่ยงเบนทางเพศได้
                         2.  สนับสนุนให้วัยรุ่นทั้งเพศชายและหญิงแสดงเอกลักษณ์ทางเพศของตนเองให้
ถูกต้องและเหมาะสม
                         3.  สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทางเพศตามที่สังคมไทยและกรอบของขนบ
ธรรมเนียมวัฒนธรรมไทยได้กำหนดไว้พร้อมทั้งมีการส่งเสริมให้เด็กเห็นคุณค่าและความสำคัญของความเป็นเพศชายและเพศหญิง โดยอาจให้คำแนะนำและเสนอแนะกับเด็กที่เป็นวัยรุ่น ดังนี้
                                3.1  ยอมรับตนเอง โดยค้นหาและทำความรู้จักตนเองให้ได้ว่าตนเองคือใคร เป็นเพศชายหรือหญิง
                                3.2  เข้าใจธรรมชาติว่า เมื่อเกิดมาเป็นเพศชายหรือเพศหญิงแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยน แปลงได้
                                3.3  ภาคภูมิใจในเพศของตนเองและเห็นอกเห็นใจเพื่อนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ
                                3.4  ส่งเสริมให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านเพศศึกษา